ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.4 ทำบุญ กับ ทำทาน
คนทั่วไปมักใช้สำนวน “ทำบุญ ทำทาน” ไปคู่กัน หรือใช้แทนกันจนคุ้นเคย โดยเวลาถวายของแด่
พระภิกษุสงฆ์ เรามักใช้คำว่า “ทำบุญ” เพราะจิตใจของผู้ให้มีความศรัทธา ต้องการบุญกุศล จึงให้เพื่อชำระ
ใจของตนให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ แต่เมื่อให้ของแก่คนยากจน หรือคนที่ต่ำกว่า ด้อยกว่าตน ก็มักใช้คำว่า
“ทำทาน” แทน เพราะจิตใจของผู้ให้มุ่งไปในทางสงเคราะห์ หรืออนุเคราะห์แก่คนยากจน
“บุญ” คือสิ่งที่เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจแล้ว จะทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง ขุ่นมัว
บุญทำให้ใจมีคุณภาพดีขึ้น คือ ใจจะตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีความบริสุทธิ์ สะอาด โปร่งโล่ง สบาย สงบ
สว่างไสว เป็นสุข และบุญที่เกิดขึ้นนั้น ยังสามารถสะสมเก็บไว้ในใจได้อีกด้วย
ในทางพระพุทธศาสนา มีวิธีทำบุญด้วยกันถึง 10 วิธี (บุญกิริยาวัตถุ) ดังต่อไปนี้ คือ
1. ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการให้
2. สีลมัย บุญที่สำเร็จด้วยการรักษาศีล
3. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญสมาธิภาวนา
4. อปจายนมัย บุญที่สำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
5. เวยยาวัจจมัย บุญที่สำเร็จด้วยการให้ความช่วยเหลือ ขวนขวายในกิจการงานที่ถูกที่ควร
6. ปัตติทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้อื่น
7. ปัตตานุโมทนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการอนุโมทนา (แสดงความยินดี) ในการทำบุญกุศล
หรือการทำความดีของผู้อื่น
8. ธัมมัสสวนมัย บุญที่สำเร็จด้วยการฟังธรรม
9. ธัมมเทสนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการแสดงธรรม
10. ทิฏฐชุกัมม์ บุญที่สำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องดีงาม ตรงตามความเป็นจริง (สัมมา
ทิฏฐิ)
การทำบุญทั้ง 10 วิธีนั้น สามารถย่อให้ง่ายขึ้นเป็นบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ ทาน ศีล และ
ภาวนา ก็ได้ โดย
2
ทาน ประกอบด้วย ทานมัย (ข้อ 1), ปัตติทานมัย (ข้อ 6), ปัตตานุโมทนามัย (ข้อ 7)
ศีล ประกอบด้วย สีลมัย (ข้อ 2), อปจายนมัย (ข้อ 4), เวยยาวัจจมัย (ข้อ 5)
ภาวนา ประกอบด้วย ภาวนามัย (ข้อ 3), ธัมมัสสวนมัย (ข้อ 8) และ ธัมมเทสนามัย (ข้อ 9)
จิตตุปปาทกัณฑ์ อรรถกถาธรรมสังคณี, มก. เล่ม 75 หน้า 427-428.
ปุญญกิริยาวัตถุสูตร อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 หน้า 390.
26 DOU บ ท ที่ 2 ท า น คื อ อะไร