ข้อความต้นฉบับในหน้า
“การให้อะไร ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งอะไร ชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในอะไร ชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งอะไร ชนะทุกข์ทั้งปวง”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบว่า
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพรติ ธมฺมรติ ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺนํ ชินาติ
การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ชนะทุกข์ทั้งปวง
ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คน
4.3 การแสดงธรรม
4.3.1 คุณสมบัติของผู้แสดงธรรม
เราได้ทราบแล้วว่า ธรรมทานประเสริฐกว่าทานทุกอย่าง แต่ธรรมทานนั้นจะเกิดขึ้นได้เพราะมี
ผู้แสดงธรรม ซึ่งการแสดงธรรมให้ดี ให้เกิดประโยชน์สุขนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสแก่
พระอานนท์ ในอุทายิสูตร ว่า
อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย
อานนท์ ผู้แสดง (พระธรรมกถึก) ก่อนแสดงธรรม จึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในตน แล้วจึงแสดง คือ
1. จักแสดงธรรมตามลำดับ ไม่ตัดวรรคถ้อยความ
2. จักแสดงโดยปริยาย อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ
3. จักอาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม
4. จักไม่เห็นแก่อามิส (หวังอยากได้ลาภผล)
5. จักไม่กล่าวคำที่กระทบตนและผู้อื่น
อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องท้าวสักกเทวราช, เล่ม 43 หน้า 325.
2 อุทายิสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 158 หน้า 334.
76 DOU บ ท ที 4 ธ ร ร ม ท า น