ศีลกับเป้าหมายเหนือฟ้า SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 102
หน้าที่ 102 / 226

สรุปเนื้อหา

การรักษาศีลไม่เพียงแต่ช่วยให้มีชีวิตที่สงบสุขในภพชาตินี้ แต่ยังเป็นรากฐานของการพัฒนาคุณธรรมและความเจริญในภพชาติเบื้องหน้า ศีลเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเสริมสร้างสมาธิและปัญญา อีกทั้งยังสามารถนำไปสู่ความสุขและการบรรลุเป้าหมายในสวรรค์ การเข้าใจศีลอย่างลึกซึ้งจะทำให้สามารถรักษาศีลได้อย่างถูกต้องและมีความสุข มีการสอนให้ศึกษาศีลเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดในชีวิต ทั้งนี้ได้รับการเน้นในธรรมภาษิตจากพระสีลวเถระว่า ศีลที่ศึกษาดีจะนำสมบัติและความสุขอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-ศีลและความสำคัญ
-คุณธรรมและการพัฒนา
-เป้าหมายในชีวิต
-การรักษาศีลอย่างถูกต้อง
-ประโยชน์ของศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.1.3 ศีลกับเป้าหมายเหนือฟ้า การรักษาศีลไม่เพียงเป็นเหตุให้ได้บรรลุเป้าหมายของชีวิตในภพชาตินี้ คือการมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากทุกข์โทษภัยใดๆ หรือบรรลุเป้าหมายในภพชาติเบื้องหน้า คือการได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์เท่านั้น แต่ศีลยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณธรรมทั้งหลายของมนุษย์ ประดุจแผ่นดินเป็นที่รองรับของการงาน ทั้งปวง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ปฐมพลกรณียสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการงานที่บุคคลต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาอาศัยแผ่นดิน ยืนอยู่บนแผ่นดินทั้งนั้นจึงจะทำได้ การงานที่ต้องทำเหล่านี้ เขาย่อมทำด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอบรมอริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ 8 ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล ฉันนั้น” นอกจากนั้น ศีลก็ยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมเบื้องสูง คือสมาธิและปัญญา ดังที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ภิกขุสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงทำเหตุเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ ก่อน เหตุเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใดศีลของเธอบริสุทธิ์ดีแล้ว และความเห็นของเธอก็ตรงดีแล้ว เมื่อนั้นเธอ อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล แล้วจงเจริญสติปัฏฐาน 4 (วิปัสสนา) ต่อไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเธออาศัยศีล และตั้งอยู่ในศีลแล้ว จะเจริญ สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ โดย 3 ส่วนอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอพึงหวังความเจริญ ในกุศล ธรรมทั้งหลายอย่างเดียวตลอดคืนหรือวันอันจะมาถึง เธอจะไม่มีความเสื่อมเลย” เมื่อเห็นความสำคัญของศีลเช่นนี้ จึงควรที่จะศึกษาเรื่องศีลให้ถ่องแท้ จนเกิดความเข้าใจ และ สามารถรักษาศีลได้อย่างถูกต้อง มีความสุขความยินดี เต็มใจที่จะรักษา ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์ อันสูงค่าจากที่เรารักษาศีลได้อย่างบริบูรณ์ ดังธรรมภาษิตของท่านพระสีลวเถระ ใน สีลวเถรถาคา ว่า “ท่านทั้งหลายพึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอันบุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนำสมบัติทั้งปวงมาให้ในโลกนี้ นักปราชญ์เมื่อปรารถนาความสุข 3 ประการ คือความสรรเสริญ การได้ความปลื้มใจ และความบันเทิงในสวรรค์ เมื่อละไปแล้ว พึงรักษาศีล - ปฐมพลกรณียสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 264 หน้า 140. ภิกขุสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 687-689 หน้า 379-380. * สีลวเถรคาถา, ขุททกนิกาย เถรคาถา, มก. เล่ม 52 ข้อ 378 หน้า 425-426. บทที่ 5 ศี ล คื อ อะไร DOU 91
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More