ประเภทของภาวนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 187
หน้าที่ 187 / 226

สรุปเนื้อหา

ภาวนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สมถภาวนา ซึ่งเป็นการฝึกจิตให้สงบและอยู่ในอารมณ์เดียว และวิปัสสนาภาวนา ที่ช่วยให้เกิดการเห็นอันลึกซึ้งต่อธรรมชาติของสรรพสิ่ง โดยสมถภาวนา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ บริกรรมภาวนา, อุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา เพื่อพัฒนาสมาธิ ขณะที่วิปัสสนาภาวนาเน้นการเห็นสามลักษณ์และละอวิชชา, ตัณหา และอุปาทาน

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของภาวนา
-สมถภาวนา
-วิปัสสนาภาวนา
-ระดับของสมถภาวนา
-การฝึกจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

10.4 ประเภทของ “ภาวนา” ภาวนา มี 2 อย่าง คือ 1. สมถภาวนา 2. วิปัสสนาภาวนา 10.4.1 สมถภาวนา สมถภาวนา คือ การฝึกฝนอบรมจิตให้สงบหยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียว ทำให้กิเลสนิวรณ์สงบลง มีอรรถาธิบายแสดงไว้ว่า ชื่อว่า สมถะ เพราะยังธรรมที่เป็นข้าศึก มีกามฉันทะเป็นต้นให้สงบ คือ ให้หมดไป นี้เป็นชื่อของสมาธิ สมถะ มี 2 ประการ คือ 1) การเจริญสมถภาวนาของบุคคลที่ยังไม่เข้าถึงอุปจารภาวนา คือ มีจิตสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง 2) การเจริญสมถภาวนาของบุคคลที่เข้าถึงอัปปนาภาวนา คือ มหัคคตฌานตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป สมถภาวนา มีชื่อเรียกอีกนัยหนึ่งว่า จิตตภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วย คุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุข ผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ระดับของการเจริญสมถภาวนา การเจริญสมถภาวนาเพื่อให้เกิดสมาธิ มี 3 ขั้น คือ 1. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน 2. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ 3. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิ เข้าถึงฌาน 10.4.2. วิปัสสนาภาวนา คำว่า วิปัสสนา มาจาก 2 บท คือ วิ (วิเศษ) + ปสฺสนา (ความเห็นแจ้ง) เมื่อรวมแล้ว แปลว่า ความเห็นแจ้งโดยวิเศษ วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกฝนอบรมจิตให้เกิดการเห็นอันวิเศษโดยตรง ได้แก่ การเห็นไตรลักษณ์ อริยสัจ แล้วละอวิชชา(ความไม่รู้ในอริยสัจ) ตัณหา ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น) อุปาทาน ความยึด มั่นถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส) ได้ 1 อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ภาเวตพพนิทเทส, มก. เล่ม 68 หน้า 368. 176 DOU บท ที่ 10 ส า ร ะ ส าคั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More