การให้ทานอย่างบริสุทธิ์ SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 56
หน้าที่ 56 / 226

สรุปเนื้อหา

บทนี้เน้นถึงหลักการให้ทานที่บริสุทธิ์ โดยเริ่มจากการเลือกวัตถุที่แจก ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ก่อให้เกิดอกุศล เช่น ไม่ให้สิ่งเสพติดหรืออาวุธ นอกจากนี้ เจตนาของผู้ให้ต้องบริสุทธิ์ในทุกช่วงเวลา ได้แก่ ปุพพเจตนา (เจตนาก่อนให้), มุญจนเจตนา (เจตนาในขณะให้), และ อปราปรเจตนา (เจตนาหลังให้) การรักษาความบริสุทธิ์ในเจตนาทั้งสามนี้ทำให้การให้ทานประสบผลสูงสุด ผู้ให้ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะทำความดี และไม่ให้ความตระหนี่หรือความคาดหวังอาจทำให้บุญนั้นตกหล่น

หัวข้อประเด็น

-วัตถุบริสุทธิ์
-เจตนาบริสุทธิ์
-การให้ทาน
-หลักการทานที่สมบูรณ์แบบ
-ผลของการให้ทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.2.1 วัตถุบริสุทธิ์ หมายถึง สิ่งของที่จะทำทาน จะเป็นอะไรก็ตาม จะซื้อเขามาหรือขอเขา มาก็ได้ แต่ต้องเป็นสิ่งของที่เราทำมาหาได้โดยสุจริต ไม่ได้ลักขโมย คดโกง เบียดเบียน หรือหลอกลวงเขา มา ถ้าเป็นของซื้อ เงินที่ซื้อจะต้องเป็นเงินที่เราทำมาหากินได้โดยสุจริตธรรม และที่สำคัญของที่ให้นั้น ต้องไม่น้อมนำให้เกิดอกุศลใดๆ เช่น ต้องไม่ให้สิ่งเสพติด อาวุธ หรือสื่อยั่วยุทางกามารมณ์ เป็นต้น ทานนี้ จึงจะชื่อว่าบริสุทธิ์ 3.2.2 เจตนาบริสุทธิ์ หมายถึง เจตนาของผู้ที่ให้ จะต้องให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งให้เกิดความ ดีงาม ให้ใจใส ใจสะอาด ไม่ได้ให้เพื่ออวดมั่งมี อวดรวย อวดดี หรือโอ้อวดอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น เพราะ การให้เช่นนั้น จะเป็นการให้ที่มีเจตนาเห็นแก่ตัว ทำไปแล้วใจจะไม่สบายใจไม่บริสุทธิ์ ในข้อนี้จึงสนับสนุนและ ชี้ให้เห็นว่า การให้สังฆทานเป็นการทำทานที่มีผลสูงสุด เพราะผู้ให้ตัดเจตนาเห็นแก่ตัวออกไปทั้งหมด ซึ่งตรง กับวัตถุประสงค์ของการทำทานอย่างแท้จริง เจตนาจะบริสุทธิ์เต็มที่ ผู้ให้ต้องรักษาใจให้มีความบริสุทธิ์ให้ได้ทั้ง 3 กาล' คือ - ปุพพเจตนา หมายถึง เจตนาก่อนที่จะทำทาน เช่น ตั้งใจว่าพรุ่งนี้เช้าจะตักบาตร ก็มีความดีใจ ปลื้มใจ ปีติใจว่าเราจะได้ทำบุญด้วยการให้ทาน หรือนึกถึงความโชคดีของเราที่มีโอกาสได้ให้ทานในคราวนี้ เพราะในบางทีที่เราไม่มีไทยธรรม ก็ให้ทานไม่ได้ บางทีมีไทยธรรม แต่กลับไม่มีศรัทธา ก็ให้ทานไม่ได้ หรือบางทีมีทั้งไทยธรรม มีทั้งศรัทธา แต่กลับไม่มีปฏิคาหก (ผู้รับทาน) ก็ให้ทานไม่ได้ แต่ในคราวนี้ เรามีความพร้อมทั้งไทยธรรม ทั้งศรัทธา และมีปฏิคาหกมารับทานของเรา คิดดังนี้ ใจก็มีความชุ่มชื่นยินดีที่จะ ได้ให้ทานนั้น - มุญจนเจตนา หมายถึง เจตนาในขณะกำลังให้ เช่น ในเวลาตักบาตร ก็มีใจเลื่อมใส คือเลื่อมใส ทั้งในคุณธรรมความดีงามของพระภิกษุผู้มารับทานของเรา และเลื่อมใสเพราะเคารพในทานที่เราให้ด้วย อาการนอบน้อม ยินดีที่ได้ทำ เต็มอกเต็มใจถวายทานนั้น ทั้งไม่ยอมให้อารมณ์ขุ่นมัวเกิดขึ้นในขณะที่ทำเลย - อปราปรเจตนา หมายถึง เจตนาหลังจากที่ให้ทานแล้ว เช่น หลังจากตักบาตรเรียบร้อยแล้ว ก็มีแต่ความแช่มชื่นเบิกบานใจ ครั้นตามระลึกนึกถึงการให้ทานเมื่อไร ก็ปลาบปลื้มยินดี มีแต่ความสุขใจ ว่าเราได้ทำทานกุศลที่ยิ่งใหญ่ โดยไม่มีความร้อนใจ หรือนึกเสียดายสิ่งที่ให้ไปแล้วเลย การรักษาเจตนาให้สะอาดบริสุทธิ์ทั้ง 3 กาลนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้ว ผู้ให้ที่ยังตัดความตระหนี่ออกจากใจไม่ได้เด็ดขาด หรือคาดหวังบางสิ่งบางอย่างจากการให้ทานมากเกินไป ย่อมมีโอกาสที่ใจจะหวั่นไหว จนทำให้บุญที่ควรจะได้ตกหล่นไปอย่างน่าเสียดายเหมือนกัน เช่นในบางครั้งได้ผู้ รับทานที่ไม่มีศีล หรือมีกิริยาอาการไม่น่าเลื่อมใส ผู้ให้อาจเกิดความเศร้าเสียใจ นึกเสียดายของที่จะให้ไป หรือไม่พอใจที่ต้องให้กับคนเหล่านั้น เป็นต้น อังกุรเปตวัตถุ, อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ, เล่ม 49 หน้า 280. บ ท ที่ 3 ก า ร ท า ท า น ที่ สมบูรณ์ แบบ DOU 45
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More