คุณค่าของการให้และผลที่ตามมา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 60
หน้าที่ 60 / 226

สรุปเนื้อหา

การให้ที่บริสุทธิ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื้อหานี้อธิบายถึงลักษณะการให้ที่บางคนขาดความเคารพ ความยำเกรง โดยพิสูจน์ว่าความตั้งใจในการให้มีผลต่อผลบุญที่ได้รับ การให้ด้วยมือของตนเองมีความสำคัญต่อการสร้างความศรัทธา การให้แบบทิ้งขว้างส่งผลให้ได้ผลบุญที่ไม่สมบูรณ์ ในทางกลับกัน การให้ที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น จะส่งผลให้ได้รับบุญที่มีคุณภาพสูง สามารถสร้างพลังให้ชีวิตได้ในอนาคต รวมถึงอธิบายถึงการให้ที่ไม่เชื่อผลที่จะมีในอนาคต อธิบายถึงอสัปปุริสทาน ที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ไม่เต็มที่.

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะการให้ที่ขาดความเคารพ
-ความสำคัญของความยำเกรง
-การให้ด้วยมือของตนเอง
-ผลกระทบของการให้แบบทิ้งขว้าง
-การให้ที่ไม่เชื่อมั่นในผลที่จะได้รับ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.ให้โดยไม่เคารพ บางคนเวลาจะให้ ขาดความเคารพในทาน คือไม่ตระหนักถึงคุณค่าของการ ให้ สิ่งของที่ให้ ตลอดถึงผู้ที่เราจะให้ หรืออาจจะเกิดจากการขาดความรู้ในเรื่องของบุญบาปเท่าที่ควร เมื่อใจขาดความเคารพแล้ว ก็เท่ากับว่าจำใจให้ ให้แบบไม่เต็มใจ กิริยาอาการที่ให้ก็หยาบคายแข็งกระด้าง เช่น ให้ของแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ ก็แสดงกิริยาอาการเหมือนให้แก่ขอทาน เป็นต้น สภาพใจของผู้ให้เป็นอย่างไร ผลทานก็จะได้อย่างนั้น จะไปเกิดในภพชาติใด ก็จะเป็นคนต่ำศักดิ์ ถูกคนดูหมิ่น ขาดความเคารพนับถือ 2. ให้โดยไม่ยำเกรง บางคนจะให้ก็ขาดความยำเกรง คือใจไม่เป็นกลาง ไม่ตั้งใจที่จะ เอาบุญอย่างเต็มที่ เช่น เวลาจะถวายสังฆทาน เห็นพระที่รู้จักก็ชอบใจ พอเจอพระที่ทุศีลก็เสียใจ ที่ถูกต้องคือควรทำใจเป็นกลาง มีใจมุ่งต่อสงฆ์ มุ่งต่อพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้โดยตั้งใจ มีความยำเกรงในสงฆ์ จะได้ผลานิสงส์มาก 3. ไม่ให้ด้วยมือของตน บางคนอาจจะมีศรัทธา แต่เมื่อเวลาให้ กลับใช้ให้คนอื่นไปทำแทน เช่น ให้คนรับใช้ทำแทนบ้าง ให้คนรับใช้ตักบาตรให้บ้าง ความจริงเราเกิดมาโชคดีแล้วที่มีมือ มีอวัยวะ ครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อมีโอกาสจึงควรให้ด้วยมือตน จะเกิดความศรัทธาขึ้นในใจเราอย่างเต็มที่ ภาพของการทำบุญจะติดตาติดใจของเรา ทำให้เกิดความปีติใจตลอดเวลา บุญที่ได้ก็มีพลัง ส่งผลได้ดี ส่วนการให้ผู้อื่นทำทานแทนนั้น ทำให้กาย วาจา ใจของเรามีโอกาสได้สัมผัสบุญน้อย ความบริสุทธิ์ที่จะติดกาย วาจา ใจ ก็น้อยตามไปด้วย เวลาจะนึกถึงบุญก็นึกไม่ออก บุญที่ได้ก็ไม่มีพลัง ส่งผลได้น้อย 4. ให้โดยทิ้งขว้างเหมือนโยนของเสียทิ้งไปทั้งที่บางทีของที่ให้เป็นของดีแท้ๆ พอเราให้ไปแบบทิ้งขว้าง สภาพใจก็เสียไป คุณภาพใจก็เสีย ผลบุญที่ได้ก็พลอยเสียคุณภาพไปด้วย เวลาบุญส่งผลก็ทำให้ได้ รับแต่ของที่มีตำหนิบ้าง แตกร้าวบ้าง หรือได้มาไม่นาน ก็มีอันจะต้องตกแตกไปบ้าง เหมือนของที่ถูกทิ้ง ฉะนั้น อีกความหมายหนึ่งก็คือ ให้แล้วละทิ้งไปกลางคันบ้าง ให้ไม่ต่อเนื่องบ้าง เวลาส่งผลก็ขาดๆ หายๆ เช่น เกิดเป็นคนรวย ไม่นานก็ตกยาก รวยไม่ตลอด เป็นต้น 5. ให้โดยไม่เชื่อผลที่จะมีในอนาคต บางคนให้โดยไม่แน่ใจว่าจะมีผลในอนาคตหรือผลในชาติหน้า ให้แบบนี้ใจจะไม่ทุ่มเทในบุญ ความดีก็เกิดกับใจได้ไม่เต็มที่ เหมือนเวลาที่เราทำงานอย่างมีความเชื่อมั่น ในผลสำเร็จ เราจะทุ่มเทความพอใจ และความเพียรไปอย่างเต็มที่ ผลงานที่ออกมาก็จะดีงาม ตรงกันข้าม ถ้าทำอย่างไม่เชื่อมั่น ไม่แน่ใจ ความทุ่มเทในงานนั้นก็จะลดลง ผลสำเร็จของงานก็ลดคุณภาพลงตามส่วน การให้แบบนี้จึงได้บุญน้อย ได้บุญไม่เต็มที่ ได้บุญแบบที่ไม่มีความมั่นใจในผลของบุญ อสัปปุริสทานนี้ เป็นการให้ที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตน้อย คือทำแล้วใจไม่ใสสว่างมากนัก บางครั้งกลับมีความขุ่นมัวปนมาก็มี เวลาบุญให้ผลก็ให้ไม่เต็มที่ ให้ผลไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น บ ท ที่ 3 ก า ร ท า ท า น ที่ ส ม บูรณ์ แ บ บ DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More