ข้อความต้นฉบับในหน้า
• อามิสทาน แบ่งตามทายก (ผู้ให้) มี 3 ประเภท ดังนี้
1. ทานทาสะ บางทีเรียกว่า “ทาสทาน” หมายถึงการที่ทายกให้ของที่ด้อยกว่าของที่ตนบริโภค
ใช้สอยเอง เช่น เมื่อได้มะม่วงมา 3 ผล ก็เลือกผลที่เล็กที่สุดให้ไป หรือได้ 3 ผลที่มีขนาดเท่าๆ กัน ก็เลือก
ผลที่ไม่ชอบใจให้ไป การให้อย่างนี้ เรียกว่า ทาสทาน เพราะว่าใจของทายกตกเป็นทาสของความตระหนี่
แล้วจึงให้ ดุจการให้สิ่งของแก่คนที่เป็นข้าทาสบริวาร ฉะนั้น
2. ทานสหาย บางทีเรียกว่า “สหายทาน” หมายถึง ทายกให้ของที่เสมอกันกับที่ตนบริโภคใช้สอย
ตนบริโภคใช้ของอย่างไร ถึงคราวจะให้ผู้อื่นก็ให้ของอย่างนั้น เช่น ได้มะม่วงมา 3 ผล ก็ให้ผลที่ดีเช่นเดียว
กับที่ตนจะบริโภค ดุจการให้สิ่งของแก่คนที่เป็นมิตรสหาย ฉะนั้น
3. ทานสามี บางทีเรียกว่า “สามีทาน” หมายถึงทายกให้ของที่ดีประณีตกว่าของที่ตนบริโภคใช้สอย
โดยเลือกเอาสิ่งของที่ดีที่สุดให้ไป ซึ่งชาวพุทธทั้งหลายเวลาจะให้ ก็ให้สามีทานเป็นส่วนมาก เช่น เวลาจะ
ตักบาตรพระ จะคดข้าวปากหม้อ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ดีที่สุดเอาไว้ถวายพระก่อน หรือเวลาเลี้ยงพระภิกษุ
สามเณร จะตกแต่งข้าวปลาอาหารอย่างประณีตบรรจงกว่าที่ตนเองบริโภคถวายท่าน หรือเวลาที่จะ
ให้ของแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง แม้ว่าจะมีฐานะเสมอหรือต่ำกว่าเรา ก็เลือกของที่ดีที่ชอบใจให้ไป อย่างนี้เรียกสามีทาน
เพราะใจของผู้ให้เอาชนะความตระหนี่ เป็นนาย เป็นเจ้าของ เป็นอิสระ แล้วจึงให้ทาน ดุจให้สิ่งของแก่คน
ที่ตนเคารพ หรือมีพระคุณแก่ตน เช่น บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ ฉะนั้น
ผู้ให้คนใดที่มีจิตใจชนะความตระหนี่ คือความตระหนี่ไม่สามารถครอบงำได้ มีการสั่งสมการให้
ทานสามีอยู่เสมอ จนมีคุณธรรมนี้ติดตัว โบราณาจารย์เรียกผู้ให้นั้นว่า “ทานบดี” แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในทาน
กล่าวคือ เป็น ผู้มีจิตใจที่ไม่ถูกความตระหนี่ครอบงำ เป็นอิสระในทานนั้น ไม่ตกเป็นทาส หรือสหายของ
ความตระหนี่ แต่เป็นใหญ่ในทานนั้นสม่ำเสมอทุกเวลา
• อามิสทาน แบ่งตามเจตนาของผู้ให้ มี 2 ประเภท คือ
1. ปาฏิบุคคลิกทาน
2. สังฆทาน
1. ปาฏิบุคคลิกทาน คือ ทานที่ให้เฉพาะเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น เราจะทำบุญบ้าน
เลี้ยงพระจำนวน 9 รูป ก็เจาะจงไปว่า ขอนิมนต์พระรูปนั้นรูปโน้น การมีเจตนาเจาะจงนิมนต์ เช่นนี้เรียกว่า
“ปาฏิปุคลิกทาน”
สีหสูตร, อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาตป, เล่มที่ 36 หน้า 81.
*เสรีสูตร, อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค, เล่มที่ 24 หน้า 372
บทที่ 2 ท า น คื อ อะไร DOU 29