การเจริญภาวนาเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 193
หน้าที่ 193 / 226

สรุปเนื้อหา

เมื่อวางใจตรงศูนย์กลางกายอย่างถูกต้อง จะเข้าถึงสภาวธรรมที่ลุ่มลึก ความสงสัยจะหมดสิ้น พระมงคลเทพมุนีแสดงพระธรรมเทศนาให้พัฒนาเข้าถึงพระธรรมกายโดยใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทา การตั้งใจให้นิ่งอยู่ที่กลางกาย ทำให้เห็นดวงปฐมมรรคและกายภายใน วิธีการเข้าถึงมีหลากหลาย แต่ทุกวิธีควรมีอารมณ์ดีและหยุดนิ่งเพื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยในที่สุด.

หัวข้อประเด็น

-การเจริญภาวนา
-ศูนย์กลางกาย
-พระธรรมกาย
-มัชฌิมาปฏิปทา
-วิธีการทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อวางใจให้นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายได้อย่างถูกส่วนแล้ว ก็จะเข้าถึงสภาวธรรมที่ลุ่มลึกไปตาม ลำดับ ความสงสัยในธรรมทั้งหลายก็หมดสิ้นไป ดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า “นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าไปเที่ยว หาอื่น ให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์ กลางกายของตัวไปเลย ตรงนั้นแหละ เอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ายังไม่เห็นนานๆ เข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นเอง ที่ไปหาที่อื่น ไปโน่น ไปตรงโน้น ไปตรงนี้ ไปที่โน่น ไปที่นี่ ไปหาธรรม ในป่า ในดอนในดงกันยกใหญ่ทีเดียว เพราะไม่เห็น พอไปเห็นเข้าแล้ว โธ่... ผ้า โพกหัวหาแทบตายไม่เห็น อยู่บนหัวนี่เอง ไปหาธรรมแทบตาย ธรรมอยู่กลางตัว ของตัวนั่นเอง นั่นแหละธรรมอยู่ตรงนั้นแหละ แต่ว่าไม่ปรากฏขึ้น เมื่อปรากฏ ขึ้นแก่พราหมณ์แล้ว พราหมณ์ก็หมดสงสัย” 10.7 การเจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย การเจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย มีหลักการคือ การปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง โดยการนำใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งใจสงบนิ่ง และหยุดได้ ถูกส่วน ก็จะเห็นดวงปฐมมรรค หรือดวงธรรม และเข้าถึงกายภายในไปตามลำดับ จนถึงพระธรรมกาย สำหรับวิธีการทำให้เข้าถึงพระธรรมกายนั้น มีมากมายหลากหลายวิธีเพื่อให้เหมาะสมกับจริต อัธยาศัยของแต่ละคน ถ้าหากปฏิบัติถูกต้องตามหลักการแล้ว สามารถเข้าถึงได้ทุกคน วิธีการที่จะทำให้ใจ หยุดนิ่งตรงฐานที่ 7 มีเป็นล้านวิธี คือ นับวิธีไม่ถ้วน แต่ย่อลงมาเหลือเพียงแค่ 40 วิธีที่มีปรากฏในคัมภีร์ วิสุทธิมรรค จะเลือกวิธีไหนก็ได้ ที่จะฝึกใจให้หยุดนิ่ง ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ พอใจสบาย ใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็หล่นวูบเข้าไปสู่ภายใน พบดวงธรรมภายใน ถ้าดำเนินจิตไปเรื่อยๆ ก็จะเข้าถึง พระรัตนตรัยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นวิธีที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยนั้นมีหลายวิธี แต่ทุกวิธีมีอารมณ์เดียว คือ ต้องมีอารมณ์ดี อารมณ์สบาย แล้วก็ต้องหยุดนิ่ง ใจที่ปกติชอบแวบไปแวบมา กลับมาหยุดนิ่งอยู่ภายใน พอหยุดถูกส่วนก็จะเข้าถึงพระธรรมกายในที่สุด มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี), (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2539), หน้า 267 182 DOU บ ท ที่ 10 ส า ร ะ ส าคั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภาวนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More