ข้อความต้นฉบับในหน้า
สามัญสำนึกที่จะไม่เบียดเบียนคู่ครอง หรือคนในครอบครัวของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์
แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะปกติของสัตว์นั้น เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ มักแย่งคู่กัน บางครั้งถึงขั้นสู้กัน
จนตายไปข้างหนึ่งก็มี การไม่แย่งชิงหรือเบียดเบียนคู่ครองหรือคนในครอบครัวของผู้อื่น จึงเป็นปกติของ
มนุษย์ที่แท้จริง
ความเป็นปกตินี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดศีลข้อที่ 3 ว่า กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี เจตนางดเว้นจาก
การประพฤติผิดในกาม
4) ความสัตย์ ความจริง ก็เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตต้องการ เพราะการตัดสินใจในชีวิต จะทำได้ดีต้องมี
ข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งความมั่นใจในการดำเนินชีวิต จะมีได้ต้องมาจากความจริงใจ ซื่อตรงต่อกัน การ
โกหกหลอกลวงนั้น ไม่เพียงแต่สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้ แต่ยังสร้างความเสียหายในทรัพย์สิน หรือแม้แต่
ชีวิตทั้งชีวิตก็ถูกทำลายได้ด้วยการหลอกลวง ดังนั้น เมื่อเราไม่ต้องการถูกหลอกลวง ผู้อื่นก็ย่อมไม่
ต้องการเช่นกัน
สามัญสำนึกที่จะไม่เบียดเบียนกันด้วยการกล่าวเท็จ หรือด้วยคำพูด เป็นสิ่งที่มนุษย์แตกต่างจาก
สัตว์ทั้งหลาย ที่มักเบียดเบียนกันด้วยการใช้เสียงขู่คำราม สร้างความหวาดกลัว และสร้างความเสียหาย
แก่ชีวิตของสัตว์อื่น การไม่ใช้คำพูดเบียดเบียนผู้อื่น จึงเป็นปกติของมนุษย์ที่แท้จริง
พูดเท็จ
ความเป็นปกตินี้เอง จึงเป็นเหตุให้เกิดศีลข้อที่ 4 ว่า มุสาวาทา เวระมะณี เจตนางดเว้นจากการ
มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ คนที่กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้ ก็คือผู้ที่ไม่ยอมรับความจริง ไม่ยอมรับ
ความดี และไม่มีความซื่อตรงอยู่ในใจ บุคคลเช่นนี้ ย่อมจะทำความผิดอื่นๆ ที่รุนแรงขึ้นได้ทุกอย่าง ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประทานโอวาทแก่พระราหุลใน จูฬราหุโลวาทสูตร ว่า
“ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่
รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ
ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล
เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล
5) ความสงบ ความปลอดภัยในชีวิต ก็เป็นสิทธิที่ทุกคนต้องการ แต่จะเป็นไปได้เมื่อทุกชีวิตตั้งอยู่
ในความไม่ประมาท เพราะคนประมาทขาดสติ อาจทำความชั่วได้ทุกชนิด หรือสร้างความเสียหายได้
อย่างใหญ่หลวง
ความปกติของมนุษย์ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากมนุษย์ไม่สามารถ
รักษาสติไว้ได้ ซึ่งสิ่งที่ทำให้คนขาดสติได้อย่างง่ายดาย ก็คือ สุราเมรัย นั่นเอง
จูฬราหุโลวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 127 หน้า 265
บทที่ 6 ศีล 5 ป ก ติ ข อ ง ค ว า ม เ ป็ น มนุษย์ DOU 105