ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.1.1 ทำไมต้องรักษาศีล 8
จากวัตถุประสงค์ของการรักษาศีลทั้ง 5 ข้อ ในบทที่ 6 เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่า
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการให้เกิดความบริสุทธิ์ทางกายและวาจา เพื่อเป็นพื้นฐาน
รองรับการปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป
ศีลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นมีหลายระดับ เพื่อความเหมาะสม และความพร้อมของ
แต่ละบุคคล การรักษาศีลในแต่ละระดับนั้น ยิ่งรักษาในระดับที่สูงขึ้น ย่อมทำให้เกิดความบริสุทธิ์มาก
ยิ่งขึ้นตามไปด้วย เป็นการย่นย่อระยะทางสู่พระนิพพาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะชี้ทางลัดในการประพฤติธรรม เพื่อความหมดกิเลสเข้า
พระนิพพานแก่สาวกของพระองค์ จึงทรงให้รักษาศีล 8 หรืออุโบสถศีล ในวันพระ ในระหว่างเข้าพรรษา
ในโอกาสการอยู่ธุดงค์ หรือในโอกาสใดโอกาสหนึ่งที่กำหนดขึ้นตามความเหมาะสม
การรักษาศีล 8 เป็นทางลัดสู่ความเป็นผู้หมดกิเลสได้อย่างไร ก่อนอื่นต้องมาพิจารณาศีลข้อที่
เพิ่มขึ้นจากศีล 5 ว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร ดังนี้
ข้อที่ 3 ในศีล 8 นี้จะเป็นการยกระดับของใจให้ประเสริฐยิ่งขึ้น ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ คือ
เว้นจากการเสพเมถุน ซึ่งมีใจความว่า
อะพรัหมะจะริยา เวรมะณี หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
อยู่เยี่ยงพรหม ไม่เกี่ยวข้องเรื่องเพศ เป็นการยกใจให้สูงขึ้น และให้สงบเต็มที่ เพื่อจะได้มีโอกาสศึกษา
ปฏิบัติ และพิจารณาธรรมขั้นสูงยิ่งๆ ขึ้นไป
ส่วนข้อ 6,7,8 เป็นการสนับสนุนให้การประพฤติพรหมจรรย์มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในศีลข้อ 6 คือ วิกาละโภชะนา เวระมะณี หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากการบริโภคโภชนะ
ในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงจนอรุณขึ้นมาใหม่
ในทัศนะทางพระพุทธศาสนา พิจารณาเห็นว่า อาหารมื้อเช้าใช้ประโยชน์ในการซ่อมแซมร่างกาย
ที่สึกหรอ อาหารกลางวันใช้ประโยชน์ในการสร้างกำลังกายและการเจริญเติบโต ส่วนอาหารมื้อเย็นจะ
กลายเป็นส่วนเกินไป และส่งผลให้เกิดการกำเริบ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้ทำงานหนัก
ในเรื่องรสของอาหาร คนทั่วไปมักติดในรสชาติ จึงแสวงหาความอร่อยโดยเฉพาะอาหารมื้อเย็น
ที่เป็นส่วนเกิน การแสวงหานี้เกิดจากอำนาจความอยากในรส ทางพระพุทธศาสนา เรียกกิเลสตัวนี้ว่า
รสตัณหา ชื่อว่า ตัณหา คือความอยาก ย่อมไม่รู้จักคำว่าอิ่ม แม้ร่างกายไม่ต้องการ แต่ใจมันอยาก จึงขวนขวาย
แสวงหาไม่สิ้นสุด ทำให้เกิดทุกข์โทษภัยต่างๆ จากการแสวงหาที่ผิดศีลที่ไปเบียดเบียนสัตว์อื่น จากอาหาร
ที่เป็นส่วนเกิน หรือพิษภัยจากอาหารที่อร่อย
บทที่ 9 ศีล 8 แ ล ะ อุโบสถศีล
DOU 159