ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาดและการรักษาศีล SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 136
หน้าที่ 136 / 226

สรุปเนื้อหา

การดื่มน้ำเมาและการเสพสิ่งเสพติดรวมถึงอันตรายที่จะตามมากับการละเมิดศีล การเข้าใจถึงประเภทของสุราและผลกระทบจากการกระทำผิดเหล่านี้สามารถช่วยให้เราเรียนรู้เพื่อรักษาศีลและทำให้จิตใจบริสุทธิ์ ในบทนี้ได้เสนอวิธีการรักษาศีลอย่างง่ายๆ ที่ต้องอาศัยความตั้งใจและความพยายามในการหลีกเลี่ยงความชั่วทั้งทางกาย วาจา และใจ การมีจิตตั้งมั่นในการรักษาศีลจะช่วยสร้างจิตใจที่บริสุทธิ์ และลดโอกาสในการล่วงละเมิดศีล ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาศีลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-ผลกระทบจากการดื่มน้ำเมา
-การเสพสิ่งเสพติด
-ความเข้าใจเกี่ยวกับศีล
-วิธีการรักษาศีล
-ผลที่เกิดจากการละเมิดศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา - สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ - เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุก ชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการ กระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด ทะลุ ด่าง หรือพร้อย ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตาย โดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบ องค์ 5 ของการฆ่าสัตว์ อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย หากเกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะล่วงละเมิด แม้ว่าบางกรณีศีลจะยังไม่ขาดก็ตาม แต่บาปได้เกิดขึ้นมาในใจ เป็นเหตุให้ใจต้องเศร้าหมอง และหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะ ยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมากยิ่งขึ้น เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเรา เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ในภายหลัง 7.3 วิธีการรักษาศีล การรักษาศีลสามารถกระทำได้อย่างง่ายๆ โดยมีเจตนาหรือมีความตั้งใจจะรักษาศีล ละเว้น ความชั่วทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยระลึกนึกถึงศีลไปทีละข้อ ด้วยความรู้สึกว่า จะพยายาม รักษาศีลแต่ละข้อนั้นให้ดี เพียงเท่านี้เราก็พร้อมแล้วที่จะรักษาศีล และหากว่าต้องประสบกับเหตุการณ์ หรือโอกาสที่อาจล่วงละเมิดศีล ก็พยายามหลีกเลี่ยงเสีย ด้วยคิดว่าเราได้ตั้งใจสมาทานศีลมาแล้ว เช่นนี้ชื่อว่าเราได้รักษาศีลแล้ว จากนั้นในแต่ละวัน ก็หมั่นนึกถึงศีลเราว่า เราได้รักษาศีลได้ดีมากน้อยเพียงใด หากพลาดพลั้ง กระทำผิดศีลเข้า จะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราก็เริ่มต้นรักษาใหม่ ด้วยความตั้งใจว่า เราจะไม่ล่วง ละเมิดอีก ส่วนศีลข้อใดที่เรารักษาไว้ดีแล้ว ก็ให้ตั้งใจรักษาต่อให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ทำให้เป็นความเคยชิน จน กระทั่งกลายเป็นนิสัยติดตัวไป ด้วยวิธีการอย่างนี้ การรักษาของเราก็สามารถกระทำได้โดยง่าย โดยไม่รู้สึกว่า เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสแต่อย่างใด บทที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศี ล DOU 125
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More