ข้อความต้นฉบับในหน้า
สำหรับการรักษาศีลนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ในภพชาติเบื้องหน้าเมื่อกลับมาเกิด
ในโลกนี้แล้วจะได้ความเป็นมนุษย์ เพราะการได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้าง
บุญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด กายมนุษย์เท่านั้นที่สามารถสั่งสมบุญและทำภาวนาได้ ถ้าหากเกิดมาแล้ว
ได้กายชนิดอื่น ก็เท่ากับเป็นการตัดโอกาสในการสร้างบารมีโดยสิ้นเชิง หนทางการเข้าพระนิพพานก็จะ
ยิ่งห่างไกล เพราะการที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งได้นั้นก็ด้วยการเจริญภาวนา ทำใจให้หยุดนิ่งเท่านั้น
ดังนั้น ทั้งการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาจึงมีความสำคัญต่อการบรรลุพระนิพพานอย่างที่สุด
นอกจากนี้ ไม่ว่าเราจะตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ในระดับใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายบนดิน เป้าหมายบนฟ้า
หรือเป้าหมายเหนือฟ้าก็ตาม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เ พราะฉะนั้น
บุญทั้ง 3 ประการนี้จึงถือเป็นงานของชีวิต เป็นหน้าที่ที่ทุกคนจะต้องลงมือปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จะต้องประพฤติปฏิบัติให้ติดเป็นนิสัย เป็นความเคยชิน จนกระทั่งเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ที่เรียกว่า
วิถีชีวิตให้ได้
1.3 อุปสรรคของชีวิต
1.3.1 กิเลส
แม้สัมมาทิฏฐิทั้ง 10 ประการจะมีอานุภาพมากเพียงไร แต่ในบางครั้งเราก็ยังพบกับสิ่งที่เป็นอุปสรรค
ของชีวิต ทั้งนี้ก็เพราะสัมมาทิฏฐิที่มีอยู่ในใจของเรานั้นยังไม่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม จึงทำให้อานุภาพหย่อนลงไป
จะสังเกตได้ว่าชีวิตของเราบางครั้งก็ประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เงินทองขาดมือบ้าง
บางครั้งก็เจ็บไข้ได้ป่วย หรือประสบอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดบ้าง บางครั้งก็ตามไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของคู่แข่ง
หรือเผลอสติทำงานไม่รอบคอบบ้าง เหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายๆ คนเคยประสบกันมาแล้ว และหลายๆ ปัญหา
ก็เคยผ่านการแก้ไขมาหลายครั้ง แต่ ณ วันนี้ ปัญหาเหล่านั้นก็ยังคงมีให้เห็นอยู่
หากจะสาวหาสาเหตุที่แท้จริงตามพุทธวิธีแล้ว คำตอบก็คือ ทุกปัญหาล้วนมีสาเหตุมาจาก “ใจ”
ของคน ถ้าหากแก้ไขที่ต้นเหตุ คือที่ใจของคนได้ ปัญหาทั้งหลายก็จะหมดไป แล้วอะไรที่ทำให้ใจมีปัญหา
คำตอบก็คือ “กิเลส” นั่นเอง กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในใจ เป็นตัวทำให้เกิดอุปสรรคของชีวิต หากกำจัด
กิเลสให้หมดสิ้นไปได้ อุปสรรคของชีวิตก็จะหมดไป
ขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์
ความหมายของกิเลส
กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจ
16 DOU บ ท ที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ข อ ง ม นุ ษ ย์ กั บ วิถี ชี วิ ต