ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.1.2 อภัยทาน
อภัยทาน คือ การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีภัยแก่ตนและผู้อื่น ไม่ถือโทษโกรธเคือง
ในการล่วงเกินของผู้อื่น ไม่มีเวร ไม่ผูกเวรกับผู้ใด ทั้งยังมีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นนิตย์
การให้อภัย เป็นการให้ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เป็นการให้ที่ง่าย แต่ที่บางคนทำได้ยาก เพราะ
มีกิเลสอยู่ในใจ ต้องอาศัยการฟังธรรม ประพฤติปฏิบัติธรรมบ่อยๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นคุณ
ประโยชน์ของการให้อภัย แล้วจะให้อภัยได้ง่ายขึ้น
หากมองเผินๆจะดูเหมือนว่าการให้อภัยเป็นการให้ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นทำให้ผู้อื่นมีความสุขสบายใจ
แต่แท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์สุขมากที่สุดก็คือตนเอง เพราะทุกครั้งที่ให้อภัยได้ จะรู้สึกปลอดโปร่ง
เบากายเบาใจ สดชื่นแจ่มใส มีความสุข
นอกจากนี้ การช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายให้ปลอดภัย หรือพ้นจากอันตรายนั้นได้ เช่น
การช่วยปล่อยสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่าให้พ้นจากการถูกฆ่า ดังประเพณีปล่อยสัตว์ปล่อยปลา ก็นับว่าเป็น
อภัยทานเช่นกัน เพราะได้ให้ความไม่มีภัย ให้ความเป็นอิสระแก่สัตว์เหล่านั้น
การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการไม่เบียดเบียน จัดเป็น
การให้ที่สูงขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า “มหาทาน” ซึ่งท่านจัดไว้ในเรื่องศีล (บทที่ 6)
ส่วนการให้อภัย คือ ทำตนเป็นผู้ไม่มีภัยกับตนเอง ใครที่สามารถสละภัย คือโทสะออกจากใจได้
มีจิตใจสงบ สะอาด จิตจะประกอบไปด้วยเมตตา เมื่อทำไปแล้วถึงระดับหนึ่ง จัดว่าเป็นการภาวนา ที่
เรียกว่า เมตตาภาวนา ซึ่งมีอานิสงส์สูงยิ่ง
4.2 อานิสงส์ของธรรมทาน
ธรรมทานนี้มีอานิสงส์มาก ดังที่มีการพรรณนาคุณไว้ในอรรถกถาธรรมบท ว่า
แม้ทายกจะถวายจีวรอย่างดีที่สุดแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้า
ทั้งหลาย ที่นั่งติดๆ กันเต็มห้องจักรวาลนี้ ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการอนุโมทนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท และจีวรทานนั้นมีค่าไม่ถึง 1 ใน 16 แห่งพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา
แม้ทายกจะถวายโภชนะข้าวสาลี กอปรด้วยสูปะพยัญชนะ (แกงและกับข้าว) อันประณีต เป็นต้น
ให้เต็มบาตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี จะถวายเภสัชทาน มี เนยใส เนยเหลว น้ำผึ้ง เป็นต้น ให้เต็มบาตร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นั่งติดๆ เต็มห้องจักรวาลก็ดี ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท
อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องท้าวสักกเทวราช, มก. เล่ม 43 หน้า 325.
บทที่ 4 ธ ร ร ม ท า น
DOU 73