ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมาธิในพระพุทธศาสนา" หมายถึง การที่จิตมีความมั่นคง ไม่วอกแวก และต้องก่อให้เกิดความ
สงบ มีความเย็นกายเย็นใจด้วย ถ้าใจไม่วอกแวก แต่พกเอาความร้อนใจไว้ข้างใน เช่น พกเอาความโลภ
อยากได้ของผู้อื่นไว้เต็มที่ดังเช่นนักการพนัน พกเอาความพยาบาทไว้จนหน้าตาถมึงทึงอย่างพวกมือปืน
หรือพกเอาความหลงไว้จนกระทั่งยอมให้ผีเข้ามาสิงร่างตัวดังเช่นพวกคนทรง อย่างนี้พระพุทธศาสนา
ถือว่าไม่ใช่สมาธิ ถ้าหากจะถือก็เป็นได้แค่สมาธินอกลู่นอกทาง ที่เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ซึ่งไม่ควรฝึก
ไม่ควรให้ความสนใจ เพราะมีแต่โทษถ่ายเดียว
ดังนั้น ความหมายของสมาธิที่ถูกต้อง หรือที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ ควรจะเป็นดังนี้ สมาธิ คือ
ความมีอารมณ์เดียวแห่งจิตที่เป็นกุศล
พระภาวนาวิริยคุณได้กล่าวถึงคำว่าสมาธิไว้หลายประการ ดังนี้
1) สมาธิ คือ สภาวะที่ใจปราศจากนิวรณ์ 5
2) สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง เป็นเอกัคคตา หรือบางทีใช้ว่า
เอกัคคตารมณ์
3) สมาธิ คือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา
4) สมาธิ คือ อาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ ณ ศูนย์กลางกายของตนเองอย่างต่อเนื่อง
มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นได้ด้วยใจตนเอง
อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติได้ในเวลาเดียวกัน
ที่กล่าวว่า สมาธิ คือ อาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่ง ดังคำจำกัดความข้อ 4 นั้น ย่อมหมายความว่า
ดวงเห็น ดวง ดวงคิด ดวงรู้ ซึ่งซ้อนกันอยู่นั้น หยุดรวมเป็นจุดเดียวกันอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น
กายมนุษย์ ณ ศูนย์กลางกายตนเองนั่นเอง เมื่อรวมกันเป็นหนึ่งแล้ว นิวรณ์ทั้ง 5 ย่อมแทรกแซงเข้าไปไม่ได้
ดังคำจำกัดความข้อ 1 เมื่อหยุดเป็นจุดเดียว ใจย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ดังคำจำกัดความข้อ 2 และ
ไม่ชัดสาย ดังคําจํากัดความข้อ 3
ดังนั้น เราจึงอาจจะสรุปความหมายที่สมบูรณ์ของสมาธิได้ใหม่ว่า สมาธิ คือ สภาวะที่ใจเราปลอด
จากนิวรณ์ 5 รวมเป็นจุดเดียว ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ซัดส่ายเลย สงบนิ่งจนปรากฏเป็นดวงใส
บริสุทธิ์ผุดขึ้น ณ ศูนย์กลางกายของเราเอง ซึ่งจะสามารถยังผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ต่อการบรรลุธรรม
ขั้นสูงต่อไป
หน้า 34.
หน้า 147.
3
*พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), คนไทยต้องรู้, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2537),
- พระมหาฉัตรชัย ฉตฺตญฺชโย, 40 วิธีเพื่อการเข้าถึงพระธรรมกาย, (เอกสารอัดสำเนา, 2546), หน้า 63.
*พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), พระแท้, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท อิมเพาเวอร์ จำกัด, 2540),
บท ที่ 10 ส า ร ะ สำ คั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภาวนา DOU 179