ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.5 ทาน ศีล ภาวนา กับการสร้างบารมี
บุญอันเกิดจากทาน ศีล ภาวนานี้ มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง คือ สะสมได้ เมื่อกระทำให้มากเข้า
ก็จะกลั่นตัวกลายเป็น “บารมี” ซึ่งมีอานุภาพยิ่งกว่าบุญมากมายนัก
บารมี คือ ความดีอย่างยิ่งยวด เป็นธรรมอันเลิศ ธรรมอันประเสริฐ ที่พระบรมโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ
สั่งสมไปโดยลำดับ เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 10 ประการ หรือที่เรียกว่า บารมี 10 ทัศ คือ
1. ทานบารมี คือ การให้ทาน
2. ศีลบารมี คือ การละเว้นบาป และความชั่วทั้งปวง
3. เนกขัมมบารมี คือสละการพัวพันในเรื่องกามเรื่องครอบครัว แล้วหลีกเร้นแสวงหาทางหลุดพ้น
4. ปัญญาบารมี คือ การเสาะหา แสวงหาความรู้ที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
5. วิริยบารมี คือ ความหมั่นเพียรไม่ท้อถอย กล้าที่จะสู้กับอุปสรรค
6. ขันติบารมี คือ ความอดทน อดกลั้น ต่อสิ่งที่น่ายินดี และไม่น่ายินดี
7. สัจจบารมี คือ ความตั้งใจมั่นที่จะทำความดี
8. อธิษฐานบารมี คือ การตั้งความปรารถนาเพื่อบรรลุเป้าหมายในหนทางของความดี
9. เมตตาบารมี คือ ความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
10. อุเบกขาบารมี คือ ความวางเฉยต่อสุข และทุกข์ หรือมีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
บารมีทั้ง 10 ทัศนี้ เป็นสิ่งที่ต้องสั่งสมมาหลายภพหลายชาติจนติดเป็นนิสัย บารมี 10 ทัศ
แท้จริงก็คือนิสัยที่ดีเลิศ 10 อย่างนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นจากการสั่งสมทาน ศีล ภาวนา มาอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งเข้มข้นขึ้นมาในระดับที่เกิดสัมมาทิฏฐิอย่างเหนียวแน่น เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโลกและ
ความเป็นไปของชีวิตว่าเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงนำไปสู่การตั้งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่จะ
ทำพระนิพพานให้แจ้งเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร มีใจใหญ่พอที่จะทุ่มเทชีวิตเป็นเดิมพัน
ในการทำความดีทุกรูปแบบ ซึ่งเราเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า พระโพธิสัตว์ จึงเป็นที่มาของการบำเพ็ญบารมี
10 ทัศ ทั้ง 3 ระดับ คือ
1. บารมีอย่างธรรมดา เรียกว่า บารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง
2. บารมีอย่างปานกลาง เรียกว่า อุปบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละได้
แม้เลือดเนื้อ และอวัยวะเพื่อความดีนั้น
3. บารมีอย่างสูงสุดอุกฤษฎ์ เรียกว่า ปรมัตถบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละ
ได้แม้ด้วยชีวิต
เมื่อบารมีทั้ง 10 จำาแนกออกเป็นองค์ละ 3 บารมีอย่างนี้ จึงรวมเป็น บารมี 30 ทัศ
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ให้คำอธิบายถึง
18 DOU บทที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ข อ ง ม นุ ษ ย์ กับ วิถี ชี วิ ต