ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดังนั้นการรักษาศีลข้อนี้จึงเป็นพุทธวิธีที่สำคัญในการกำจัด รสตัณหาให้เบาบางลงไปได้เป็นอย่างดี
ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายจากการตัดอาหารส่วนเกินออกไปโอกาสเกิดโรคภัยต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง
และยังส่งผลต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ดังที่
โรคหัวใจอุดตันก็จะลดน้อยลง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ภัททาลิสูตร ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารหนเดียว เมื่อเราฉันอาหาร
หนเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย มีกำลัง และ
อยู่อย่างผาสุก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอก็จงฉันอาหารหนเดียวเถิด แม้พวกเธอ
ฉันอาหารหนเดียว ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย มีกำลัง
และอยู่อย่างผาสุก”
ศีลข้อ 7 คือ นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ
วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี หมายถึง เจตนางดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ
อันเป็นข้าศึกแก่กุศล ตลอดจนการลูบไล้ทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม
เครื่องทา
สำหรับการรักษาศีลข้อนี้ เป็นพุทธวิธีในการกำจัดตัณหา โดยมุ่งไปที่ สัททตัณหา และ คันธตัณหา
เป็นสำคัญ อีกทั้งรูปตัณหา ด้วย
สัททตัณหา คือ ความอยากในเสียง หมายความว่า การขับร้อง การประโคมดนตรี เพื่อต้องการ
ฟังเสียงอันไพเราะอันเป็นที่รักที่เจริญใจ ใจจึงไปติดในเสียงนั้น ทำให้สัททตัณหาเจริญขึ้น เพราะ
มีเสียงเป็นอารมณ์
คันธตัณหา คือ ความอยากในกลิ่น หมายความว่า การทาด้วยของหอม การลูบไล้ด้วยของหอม
การประดับตกแต่งด้วยของหอม อันเป็นที่รักที่เจริญใจ ใจจึงไปติดในกลิ่นนั้น ทำให้คันธตัณหาเจริญขึ้น เพราะ
มีกลิ่นเป็นอารมณ์
รูปตัณหา คือ ความอยากในรูป หมายความว่า การดูการละเล่นต่างๆ อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
ทำให้รูปตัณหาเจริญ เพราะสุดท้ายการละเล่นต่างๆ เมื่อต้องการดึงดูดให้มีลูกค้าจำนวน มากๆ เพื่อธุรกิจตน
มักจะนำเอารูปสวยๆ งามๆ อันเป็นที่รักที่เจริญใจมาเป็นจุดขาย ทำให้คนดูเกิดความติดอกติดใจ
ความอยากก็เกิดขึ้น ใจจึงไปติดกับรูปนั้น รูปตัณหาก็เจริญขึ้น เพราะมีรูปเป็นอารมณ์
ภัททาลิสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 160 หน้า 321.
160 DOU
บทที่ 9 ศีล 8 แ ล ะ อุโบสถ ศีล