การรักษาศีลในพุทธศาสนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 128
หน้าที่ 128 / 226

สรุปเนื้อหา

บทที่ 7 นี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า 'ศีล' นั้นมีอยู่ตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่การที่จะถือว่าตนรักษาศีลได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับเจตนา ไม่เพียงแค่การไม่ทำความชั่ว และหารือถึงความแตกต่างระหว่างผู้ที่มีหรือไม่มีโอกาสทำชั่ว โดยการรักษาศีลนั้นต้องเริ่มจากการตั้งใจงดเว้นจากสิ่งไม่ดี ซึ่งในบทนี้กล่าวถึง 'วิรัติ' ซึ่งหมายถึงเจตนาในการรักษาศีลและวิธีการที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาศีล เช่น สมาทานวิรัติ, สัมปัตตวิรัติ และสมุจเฉทวิรัติ รวมถึงตัวอย่างจากชีวิตจริงเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของศีล
-ความสำคัญของเจตนา
-นิยามของวิรัติ
-ประเภทของวิรัติ
-ตัวอย่างการรักษาศีลในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 7 การรักษาศีล 7.1 วิรัติ หรือ เวรมณี แม้ว่า ศีล จะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์ก็ตาม แต่การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล นั้น ย่อมมิใช่เพียงแค่การไม่ทำความชั่วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะบางคนที่ยังไม่ทำความชั่ว อาจเป็นเพราะ ยังไม่มีโอกาสที่จะทำ เช่น นักโทษที่ถูกกักขังไว้ ไม่มีโอกาสไปเบียดเบียนใคร ย่อมไม่อาจบอกได้ว่า เขาเป็นผู้ รักษาศีล หรือเด็กทารกที่นอนอยู่ในแปล แม้จะไม่ได้ทำความชั่วอะไร แต่ก็เป็นไปเพราะความที่ไม่รู้เดียงสา จึงไม่อาจกล่าวว่าเด็กนั้นรักษาศีลได้ เพราะศีลนั้น สำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล จึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ และ “ความ ตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว” นี่เอง คือความหมายของคำว่า วิรัติ หรือ เวรมณี “วิรัติ” จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีล ก็ต่อเมื่อมีวิรัติ อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ 1. สมาทานวิรัติ 2. สัมปัตตวิรัติ 3. สมุจเฉทวิรัติ 7.1.1 สมาทานวิรัติ สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้ ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด ดังมีเรื่องเล่าถึง การสมาทานวิรัติของอุบาสกท่านหนึ่ง อุบาสกผู้หนึ่ง ณ ประเทศศรีลังกา อุบาสกผู้หนึ่งได้รับศีลจากพระปิงคลพุทธรักขิตเถระแห่งอัมพริยวิหาร วันหนึ่ง อุบาสกผู้นี้ได้ออกไปไถนา พอถึงเวลาพัก ก็ปลดโคออกจากไถปล่อยให้กินหญ้าไปตามสบาย ปรากฏว่า โคได้หายไป เขาจึงออกตามหา จนไปถึงภูเขาชื่อทันตรวัฑฒมานะ ณ ที่นั้นเอง เขาได้ถูกงูเหลือมตัวหนึ่งรัด เข้า จึงชักมีดอันคมกริบออกมา เสื้อขึ้นหมายจะฆ่างูนั้น แต่แล้วเขากลับฉุกคิดได้ว่า อรรถกถาธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์, มก. เล่ม 75 หน้า 299. * มหามกุฏราชวิทยาลัย, มังคลัตถทีปนี ฉบับภาษาบาลี - มงคลตฺถทีปนี (ทุติโย ภาโค), พิมพ์ครั้งที่ 13, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2539), เล่มที่ 2 ข้อ 158 หน้า 129. บทที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศี ล DOU 117
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More