ศีลข้อ 8 และความสำคัญต่อการประพฤติพรหมจรรย์ SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 172
หน้าที่ 172 / 226

สรุปเนื้อหา

ศีลข้อ 8 คือ อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เป็นการงดเว้นจากที่นอนที่สูงและนุ่ม เพื่อลดตัณหาและส่งเสริมความบริสุทธิ์ในการประพฤติพรหมจรรย์ ข้อปฏิบัติเพิ่มขึ้นมีเป้าหมายลดละความอยาก ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการรักษาศีลจากศีล 5 สู่การปรับจิตให้ละเอียดและบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น โปรดทราบว่าองค์แห่งศีล 8 มีความเกี่ยวข้องกับการลดความคิดในการเสพสุขทางเพศ.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของศีลข้อ 8
-การประพฤติพรหมจรรย์
-การลดตัณหาในชีวิต
-การพัฒนาจิตใจ
-องค์แห่งศีล 8

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศีลข้อ 8 คือ อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี หมายถึง เจตนาเครื่องงดเว้นจากการ นอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่น และสำลี การนอนที่นอนนุ่มๆ ทำให้เกิดความเกียจคร้าน ไม่อยาก ตื่น เพราะติดอยู่ในสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ซึ่งเป็นตัณหาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า โผฏฐัพพตัณหา คือ ความอยากใน สัมผัส ในที่สุดกามก็จะกำเริบอีกเช่นกัน จะเห็นว่า การรักษาศีล 8 มุ่งเน้นในเรื่องที่สำคัญ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ให้มีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยข้อปฏิบัติของศีลที่เพิ่มขึ้นมาล้วนสนับสนุนไม่ให้กามกำเริบ ซึ่งเป็นบทฝึก เพื่อให้ลดละ ตัณหาหรือความอยาก ตามลำดับขั้นของการพัฒนาระดับจิตใจ ซึ่งได้พัฒนามาจากการรักษาศีล 5 มามากพอสมควร จนเกิดความเคยชินเป็นปกติวิสัยแล้ว พร้อมที่จะยกระดับการรักษาศีลให้สูงขึ้น ดังนั้น การรักษาศีล 8 จึงเป็นตัวช่วยปรับใจให้ละเอียดประณีตสูงขึ้น เพื่อน้อมนำใจสู่การประพฤติ พรหมจรรย์ ไม่ให้ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ ซึ่งถือว่า เป็นจริยธรรมที่อยู่เหนือกว่าแนวทางการปฏิบัติ โดยทั่วไปของมนุษย์ทั้งหลาย คือ มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องเยี่ยงพรหม ซึ่งอยู่ในภพภูมิที่ใกล้ความหมดกิเลส ใกล้พระนิพพานยิ่งขึ้น 9.1.2 องค์แห่งศีล 8 องค์แห่งศีลข้อ 1, 2, 4, 5, ในศีล 8 นั้น เหมือนกับในศีล 5 จึงขอกล่าวถึงเฉพาะองค์แห่งศีล ข้อ 3 และข้อ 6 ถึงข้อ 8 ศีลข้อ 3 การกระทำที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ตามนัยแห่งฎีกาพรหมชาลสูตร และกังขาวิตรณี มีองค์ 2 คือ 1. มีจิตคิดจะเสพเมถุนธรรม 2. การยังอวัยวะเพศให้จรดกัน ตามนัยแห่งอรรถกถาขุททกปาฐะ มีองค์ 4 คือ 1. เสพเมถุนธรรมทางทวาร 3 (คือ ปาก ทวารเบา และทวารหนัก) 2. จิตคิดจะเสพเมถุนธรรม 3. พยายามเสพ 4. มีความยินดี บทที่ 9 ศีล 8 แ ล ะ อุโบสถศีล DOU 161
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More