ข้อความต้นฉบับในหน้า
แต่เมื่อเราทำภาวนา โดยการนำใจของเรากลับเข้ามาสู่ที่ตั้งดั้งเดิมของใจ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด แห่ง
ความสุขที่แท้จริงภายใน อย่างที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้สอนเอาไว้ว่า ให้นำความเห็น ความจำ
ความคิด ความรู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวที่กลางกายนี้แหละ จึงจะพบความสุขที่แท้จริงได้ เป็นสิ่งที่
แตกต่างจากเดิม ซึ่งใครก็ตามที่เข้าถึงก็จะรู้ได้ด้วยตัวของตัวเอง ที่ท่านเรียกว่าเป็น “ปัจจัตตัง”
ดังนั้น เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการทำภาวนาในเบื้องต้นก็คือ ต้องการให้ได้รับความสุข
เมื่อเราได้เข้ามาสู่แหล่งของความสุขภายในที่แท้จริงบ่อยๆ แม้ในอิริยาบถต่างๆ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน
หรือทำอะไรก็แล้วแต่ เราก็จะมีความสุข เพราะใจของเราเป็นสุข ถ้าใจไม่สบาย แม้จะมีที่นั่งอย่างดีเพียงใด
ก็ตาม นั่งก็ไม่เป็นสุข จะนอนบนฟูกหลายๆ ชั้นให้นุ่มนวล ก็ไม่เป็นสุข เพราะใจเรายังไม่เป็นสุข ใจยังป่วย
ใจยังไม่สบาย เมื่อเรากลับไปสู่แหล่งของความสุขภายใน ความสุขนั้นจะขยายไปยังทุกส่วน
ทุกอณูเนื้อของร่างกายเรา แม้จะนั่งอยู่บนอาสนะเพียงบางๆ แคบๆ แค่ 1 ตารางเมตร ก็มีความสุข เพราะ
ใจของเรามีความสุข
11.2.2 ได้ฌานสมาบัติ
เมื่อทำภาวนาจนใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ช้าก็จะเข้าถึงฌานสมาบัติ จะพบ
กายต่างๆ ที่ซ้อนอยู่ภายใน ได้แก่ กายที่เป็นที่ตั้งแห่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ตามลำดับ
จะมีอารมณ์เดียว คือ อารมณ์ที่เป็นสุข นิ่งอยู่ภายในกายต่างๆ เรียกว่า ได้ ฌานสมาบัติ
อารมณ์ดี อารมณ์เดียว อารมณ์สบายนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก จะต้องมีอยู่ในผู้ที่มีใจหยุดนิ่งอย่าง
สมบูรณ์แล้วเท่านั้น เมื่อทำได้เช่นนี้จะมีอารณ์เดียว ไม่ซัดส่าย ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน อุปมาเหมือนกับ
ภูเขาศิลาแท่งทึบ ลมพายุพัดมาทุกทิศทุกทางก็ไม่ทำให้หวั่นไหวได้ เพราะฉะนั้นอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาจะ
กระทบกระเทือนให้เกิดความยินดียินร้ายอย่างไรก็ไม่ได้
11.2.3 ได้วิปัสสนา
วิปัสสนา แปลว่า การเห็นแจ้ง การเห็นอย่างวิเศษ การเห็นที่แตกต่างจากสิ่งที่เคยเห็น คือ ของที่
อยู่ในที่ลึก มืดๆ มัวๆ สลัวๆ สามารถดึงออกมาสู่ที่แจ้งได้หมด ความไม่รู้จริงอันใดทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของตัวเรา ตั้งแต่ตัวเราคือใคร ประกอบด้วยอะไร มาจากไหน มาทำไม อะไรคือ
เป้าหมายของชีวิต และได้บรรลุเป้าหมายของชีวิตนั้นแล้ว การเห็นอย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนา
วิปัสสนาจะเกิดขึ้นได้เมื่อใจหยุดจนกระทั่งเข้าถึงกายธรรม คือ ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ
สังฆรัตนะ จะมีความเห็นไปตามความเป็นจริงด้วยธรรมจักขุของธรรมกาย มีความรู้ไปตามความเป็นจริงด้วย
1
สรุปความจาก มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี),
(กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2539), หน้า 269.
196 DOU บ ท ที่ 11 วัตถุประสงค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา
ท