ข้อความต้นฉบับในหน้า
อุปมาเหมือนเรือที่กำลังจมลงท่ามกลางมหาสมุทร วิชาความรู้ใดๆ ในโลกล้วนไม่สามารถช่วยชีวิต
เอาไว้ได้เลย มีเพียงผู้ที่ว่ายน้ำเป็นเท่านั้น ที่พอจะเอาชีวิตรอดได้ ฉันใด ท่ามกลางทะเลแห่งสังสารวัฏ อัน
เต็มไปด้วยความทุกข์ ผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมนำพาตนเองให้รอดพ้นจากห้วงทุกข์ ประสบ กับ
ความสุขที่แท้จริงได้ ฉันนั้น
ดังนั้น สัมมาทิฏฐิจึงมีอานุภาพนำพาไปสู่ความสุขที่แท้จริงได้ บุคคลใดปรารถนาความสุขที่ แท้จริง
แล้ว พึงศึกษาและกระทำสัมมาทิฏฐิให้บังเกิดขึ้น
12.1.2 สัมมาทิฏฐิกับการตั้งเป้าหมายชีวิต
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว) ได้ให้ความหมายของสัมมาทิฏฐิไว้อย่างน่าคิด ว่า สัมมาทิฏฐิ
คือ ปัญญานำไปสู่การตั้งเป้าหมายชีวิต
ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกๆ ชีวิต มนุษย์ทุกคนเมื่อมีชีวิตอยู่ ย่อมทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อ
ให้ได้มาซึ่งความสุข แม้ชีวิตหลังความตาย มนุษย์ก็ยังคาดหวังให้ตัวเองประสบความสุขในภพเบื้องหน้า และ
ในภพชาติต่อๆไปมนุษย์ก็ยังคงคิดคำนึงถึงความสุขปรารถนาความสุขที่มากยิ่งขึ้นไปที่ไม่มีทุกข์เจือปนอยู่เลย
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า พระนิพพาน
เมื่อเป็นเช่นนี้ เป้าหมายชีวิตจึงแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. เป้าหมายชีวิตระดับต้น เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ไม่ตกเป็นภาระ
แก่ใคร ที่เรียกว่า ตั้งฐานะหรือตั้งตัวได้ ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต หรืออาชีพที่ถูกต้อง เพื่อเลี้ยงตนเอง
ครอบครัว มารดา บิดา และบริวาร ให้มีความสุขพอประมาณในชาตินี้ โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องพัวพันกับ
อาชีพทุจริต ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม จมอยู่ในอบายมุข และอกุศลกรรมทั้งปวง จะเรียกว่าเป็นเป้าหมาย
ระดับบนดินก็ได้
2. เป้าหมายชีวิตระดับกลาง เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อให้ได้โอกาสไปถือกำเนิดในสุคติโลก
สวรรค์หลังจากที่ละโลกไปบุคคลที่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิอย่างมั่นคงสม่ำเสมอต่างรู้แล้วว่าสัตวโลกตายแล้วไม่สูญ
ยังจะต้องเดินทางต่อไปอีก และรู้ด้วยว่าการบำเพ็ญกุศลธรรมทุกรูปแบบ เว้นขาดจากอกุศลกรรมทั้งปวง และ
ทุ่มเทเวลาเจริญภาวนา เพื่อการทำใจให้ผ่องใสเท่านั้น จึงจะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายระดับกลาง หรือระดับ
บนฟ้าได้
3. เป้าหมายชีวิตระดับสูง เป็นเป้าหมายชีวิตเพื่อมุ่งความหลุดพ้นจากอำนาจของความบีบคั้น
ของกิเลส หลุดพ้นจากอำนาจของอวิชชาและพญามารอย่างถาวร ทำให้ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
คือ บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายของสมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ
ผู้ครองเรือนยากที่จะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายระดับสูงนี้ อาจเรียกว่า เป้าหมายเหนือฟ้าก็ได้
*พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), เข้าไปอยู่ในใจ, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท เชอรี่กราฟฟิค, 2546), หน้า 90.
2 พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), เข้าไปอยู่ในใจ, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท เชอรี่กราฟฟิค, 2546), หน้า 91-92.
บทที่ 1 2 ทาน ศีล ภาวนา คื อ บ ท ส รุ ป ข อ ง วิถี ชี วิ ต DOU 205