การพิจารณาความรักชีวิตและศีลข้อ 5 SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 115
หน้าที่ 115 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการพิจารณาของอริยสาวกว่า ความรักชีวิตนั้นสอนให้มนุษย์มีจิตเมตตาและไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดยชี้ให้เห็นว่าแต่ละชีวิตนั้นรักและหวงแหนชีวิตตน รวมถึงทรัพย์สินต่างๆ โดยเน้นการถือศีลและไม่ประทุษร้ายผู้อื่น เพื่อสร้างสังคมที่มีความสงบสุข นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเคารพซึ่งกันและกัน เพราะทุกคนต่างมีความรักและห่วงใยต่อคนที่รัก

หัวข้อประเด็น

-ความรักชีวิต
-การงดเบียดเบียน
-ศีล 5
-จิตเมตตา
-ความสัมพันธ์ในครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเรา ด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา ฯลฯ ตนเองย่อมงดเว้น จากสัมผัปปลาปะ (เพ้อเจ้อ) ด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจักสัมผัปปลาปะด้วย วจีสมาจารของอริย สาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามส่วนอย่างนี้” จากพระสูตรนี้ชี้ให้เห็นว่า 1) สิ่งแรกที่ทุกชีวิตได้มา นับแต่ลืมตาดูโลก คือ ชีวิต ดังนั้น ทุกชีวิตไม่ว่าจะยากดีมีจน จะเป็นคน หรือสัตว์ ต่างก็รักและหวงแหนชีวิตตนไม่น้อยไปกว่ากันเลย ในเมื่อเรารักชีวิต ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่อย่าง มีความสุข ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายเบียดเบียนชีวิตเรา ผู้อื่นก็ย่อมจะรู้สึกเช่นเดียวกัน ความรู้สึกเช่นนี้นี่เองที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะมนุษย์มีสามัญสำนึกในอันที่ จะคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น ส่วนสัตว์ทั้งหลายมีปกติมักเบียดเบียนชีวิตกัน แสดงออกด้วยความ โหดร้ายทารุณต่อกัน ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของใคร การมีจิตเมตตาต่อผู้อื่น การไม่เบียดเบียนผู้อื่น จึงเป็น ปกติของมนุษย์อย่างแท้จริง ความปกตินี้เองที่เป็นเหตุให้เกิดศีลข้อที่ 1 ว่า ปาณาติปาตา เวระมณี เจตนางดเว้นจากการฆ่า สัตว์ด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่า นั่นคือ เราจะไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น 2) ความรักชีวิตได้สอนให้ทุกชีวิตแสวงหาทรัพย์อันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีพ แม้จะเหนื่อยยากเพียงใด ทุกชีวิตต่างดิ้นรนหาทรัพย์มาเลี้ยงชีวิตตน ทรัพย์ที่ได้มานั้น ไม่ว่าจะต่ำต้อยน้อยค่าหรือมีราคาแค่ไหน ต่างก็เป็นของรักของหวงทั้งสิ้น เราย่อมไม่ต้องการให้ใครมาฉกฉวยแย่งชิงไปจากเรา ผู้อื่นก็ย่อมไม่ ต้องการให้ใครมาแย่งชิงไปจากเขาเช่นกัน สามัญสำนึกที่จะไม่เบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะปกติของสัตว์ทั้งหลายมักจะแย่งชิงอาหารกันกิน ไม่คำนึงว่าจะเป็นของใคร เมื่อมีโอกาสเป็นต้อง แย่งชิงมาให้ได้ ดังนั้น การไม่ลักขโมย การไม่เบียดเบียนแย่งชิงทรัพย์สมบัติของผู้อื่น จึงเป็นปกติ ของมนุษย์ที่แท้จริง ความเป็นปกตินี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดศีลข้อที่ 2 ว่า อทินนาทานา เวระมณี เจตนางดเว้นจากการ ลักทรัพย์ นั่นคือ เราจะไม่ลัก ไม่แย่งชิงทรัพย์สินของอื่น 3) ทุกชีวิตมีความรักใคร่ห่วงใยในคู่ครอง และคนในครอบครัวของตน ต่างปรารถนาจะใช้ชีวิต ร่วมกันอย่างอบอุ่น สืบวงศ์สกุลอย่างภาคภูมิใจ ถ้าใครมาประพฤติผิดประทุษร้ายในสามี ภรรยา บุตร ธิดา ของเรา ก็ย่อมทำให้เรามีความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ ในทำนองเดียวกัน ผู้อื่นก็ไม่ต้องการให้ใครมา ประพฤติผิดประทุษร้ายในสามี ภรรยา บุตร ธิดา ของเขาเช่นกัน 104 DOU บ ท ที่ 6 ศี ล 5 ป ก ติ ข อ ง ค วามเป็นมนุษย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More