ข้อความต้นฉบับในหน้า
ครั้งหนึ่งเทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลังให้อะไรชื่อว่าให้วรรณะให้อะไรชื่อว่าให้ความสุข
ให้อะไรชื่อว่าให้จักษุ และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าพระองค์ทูลถาม
ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
“ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง
ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ
และผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนผู้ให้ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมฤตธรรม”
ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง
อัตภาพของคนเรานั้น จะดำรงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยอาหาร ขาดอาหารแล้วชีวิตไม่อาจดำรงอยู่ได้
แม้บุคคลจะมีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรง มีกำลังมากปานใด หากไม่ได้รับประทานอาหาร ร่างกายก็ขาดกำลัง
ส่วนบุคคลผู้มีกำลังน้อย ถ้าได้รับประทานอาหารบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีกำลังขึ้นมาได้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า “ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง
ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
บุคคลแม้จะมีผิวพรรณดี มีรูปงามเพียงไร หากแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สกปรก ขาดรุ่งริ่ง หรือไม่มี
เสื้อผ้าเลย ย่อมไม่น่าดู ทั้งยังน่าเกลียดและถูกเหยียดหยามได้ ส่วนผู้ที่นุ่งห่ม ด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด เรียบร้อย
ย่อมดูงาม เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ”
ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
บุคคลที่เดินทางไกล บางครั้งอาจพบกับความยากลำบาก จากถนนหนทางที่ยาวไกลบ้าง ถนนที่
ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อบ้าง หรือรกไปด้วยหญ้าหรือขวากหนามที่แหลมคม หรือได้รับอันตรายจากสัตว์มี
พิษที่หลบซ่อนตัวอยู่บ้าง ต้องเผชิญกับแสงแดดที่แผดกล้า หรือมีฝนลมแรงบ้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ย่อม
ทำให้เกิดความทุกข์ ความไม่สะดวกสบาย หากมีผู้ให้ยานพาหนะไว้ใช้สอย ให้อุปกรณ์ในการเดินทาง เช่น
ร่ม รองเท้า หรือคอยถากถางหนทางให้เดินได้สะดวกยิ่งขึ้น สร้างบันได หรือสร้างสะพานไว้ให้ ผู้นั้นย่อม
ได้ชื่อว่าให้สิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย คือให้ความสุข พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ผู้ให้ยานพาหนะ
ชื่อว่าให้ความสุข”
บ ท ที่ 3 ก า ร ท า ท า น ที่ ส ม บูรณ์ แ บ บ DOU 61