ทานบารมีและศีลบารมีในการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 224
หน้าที่ 224 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงขั้นตอนการบำเพ็ญบารมีเริ่มต้นจากทานบารมีซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ จากการให้ทรัพย์ภายนอก จนถึงการสละชีวิต เพื่อไปสู่การเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเน้นให้ผู้ปฏิบัติต้องไม่เห็นแก่ทรัพย์หรือชีวิตเพียงอย่างเดียว และตามด้วยการบำเพ็ญศีลบารมีโดยการรักษาศีลให้บริบูรณ์ เพื่อเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-ทานบารมี
-ศีลบารมี
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การบรรลุพระโพธิญาณ
-วิถีชีวิตตามพุทธธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า หม้อ น้ำที่คว่ำไว้ย่อมคายน้ำออกหมด ไม่นำกลับเข้าไปฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร และภรรยา หรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึง กระทำ มิให้มีส่วน เหลือ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นกล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรก กระทำให้มั่นแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งทางโน้น และทางนี้ ทั้ง เบื้องบนและเบื้องล่าง ทั้งสิบทิศตลอดถึงธรรมธาตุ ครั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่อย่างนั้น จึงได้เห็นทานบารมี ข้อที่ 1 เป็นเส้นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในกาลก่อน ประพฤติตามคลองธรรมสืบกันมาแล้ว ท่าน จงสมาทานบารมีข้อที่ 1 นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุ พระโพธิญาณ หม้อน้ำเต็มเปี่ยม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำปากลง น้ำย่อมไหลออกหมด น้ำย่อมไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น แม้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่ง และปานกลาง จงให้ทานให้หมด เหมือน หม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลงไว้ฉะนั้น” ก้าวแรกที่จะทำให้สร้างบารมีเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ คือ ทานบารมี เป็นบารมีแรก และ เป็นบารมีที่สำคัญยิ่งที่จะส่งเสริมการบำเพ็ญบารมีอื่นๆ ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ทานบารมี แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1. ทานบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละทรัพย์ภายนอก (วัตถุสิ่งของ) 2. ทานอุปบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละอวัยวะ เลือด เนื้อ 3. ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละชีวิต 12.5.2 การรักษาศีลเป็นบารมี เมื่อสุเมธดาบสพิจารณาเห็นทานบารมีแล้ว ต่อจากนั้นจึงพิจารณาถึงเหตุลำดับต่อไปที่ทำให้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เมื่อพิจารณาอย่างดีแล้ว จึงเห็นถึงศีลบารมี ดังมีหลักฐานแสดงไว้ในขุททกนิกาย อปทาน ดังนี้ ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่พึงมีประมาณ เท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ 2 จึงได้มีความคิดอันนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป แม้ศีลบารมี ท่านก็ต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อทรายจามรีไม่เห็น แก่ชีวิต รักษาเฉพาะขนหางของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น จำเดิมแต่นี้ไปอย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษา เฉพาะศีลเท่านั้น จักได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่ 2 กระทำให้มั่นแล้ว ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีประมาณเท่านี้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นอันเป็น เครื่อง บ่มพระโพธิญาณ ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ 2 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อนๆ บทที่ 12 ท า น ศีล ภาวนา คื อ บ ท ส รุ ป ข อ ง วิถี ชี วิ ต DOU 213
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More