การให้ทานที่บริบูรณ์ SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 57
หน้าที่ 57 / 226

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เกี่ยวกับการให้ทานที่มีความบริบูรณ์ โดยเน้นถึงความสำคัญของการรักษาจิตเจตนาให้บริสุทธิ์และความบริสุทธิ์ของผู้ให้และผู้รับก่อนที่จะให้ทาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า การให้ทานในผู้ที่มีศีลธรรมจะมีผลสร้างบุญอย่างยิ่ง และการเลือกผู้รับหรือผู้ถวายทานก็สำคัญไม่แพ้กันเพื่อให้ได้บุญอย่างเต็มที่ เช่น การเลือกพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในศีลธรรมมารับทาน เป็นต้น พระบาลียังได้กล่าวถึงการให้ทานที่มีการพิจารณาเพื่อให้เกิดผลบุญที่ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการให้ทาน
-การรักษาจิตเจตนา
-คุณธรรมของผู้ให้และผู้รับ
-การเลือกผู้รับทานที่เหมาะสม
-แนวทางการถวายทานตามหลักศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังนั้น จึงต้องระวังรักษาจิตเจตนานี้ให้บริสุทธิ์มั่นคงทั้ง 3 กาล เพื่อให้เป็นทานที่บริบูรณ์ และ เกิด บุญอย่างเต็มที่ ทายก (ผู้ให้) ก่อนแต่จะให้ทาน เป็นผู้ดีใจ กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ นี้เป็นยัญสมบัติ (ความบริบูรณ์ของทาน) 3.2.3 บุคคลบริสุทธิ์ หมายถึง บุคคลสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับทานนั้น คือ ผู้ให้และผู้รับ ต้องเป็น คนที่บริสุทธิ์ ทายก (ผู้ให้) ต้องเป็นผู้มีศีลธรรม ฉะนั้นก่อนถวายทาน จึงมีประเพณีสมาทานศีลก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิคาหก (ผู้รับ) ต้องมีศีลาจารวัตรงดงาม มีคุณธรรมสูง ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ตรัสถึงความสำคัญของผู้ให้และผู้รับไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่า ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังตรัสอุปมาไว้ใน ขุททกนิกาย เปตวัตถุ อีกว่า ภิกษุสงฆ์ (ปฏิคาหก) เปรียบเหมือน นา ผู้ถวาย (ทายก) สิ่งของที่ถวาย เปรียบเหมือน ชาวนา เปรียบเหมือน พืช เมื่อชาวนาหว่านพืชลงในนาที่ดี ผลย่อมไพบูลย์ คือมีผลมาก ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึง ทรงสอนให้พิจารณาถึงนาบุญหรือบุญเขต ถ้าจะนิมนต์พระเจาะจง คือเป็นปาฏิบุคคลิกทาน ก็ให้พิจารณา นิมนต์พระที่เคร่งครัดสิกขาวินัย น่าเลื่อมใส ถ้าจะไม่นิมนต์พระเจาะจง คือเป็นสังฆทาน ก็ให้พิจารณา นิมนต์จากหมู่ที่ประพฤติสิกขาวินัยเคร่งครัดก่อน แล้วจึงให้ ดังพระบาลีว่า วิเจยฺย ทานํ สุคตปปสต การให้ด้วยพิจารณา พระตถาคตเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นต้น ในข้อนี้ จึงเห็นตัวอย่างจากเรื่องดังต่อไปนี้ 2 ทานสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 308 หน้า 629. ทักขิณาวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 719 หน้า 397. 46 DOU บ ท ที่ 3 ก า ร ท า ท า น ที่ สมบูรณ์ แ บ บ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More