ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 11
วัตถุประสงค์และอานิสงส์ของการเจริญภาวนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ฉลาดควรพยายามเอาร่างกายที่มีความตาย มีความแก่อยู่เป็นนิตย์
และมีความเดือดร้อนด้วยกิเลสเป็นต้น แลกกับพระนิพพานที่มีแต่สันติ ไม่มีความตาย ไม่มีความแก่ และ
ไม่มีความเดือดร้อนด้วยกิเลส เหมือนหนึ่งพ่อค้าที่แลกสินค้า ฉะนั้น”
การปฏิบัติให้ถึงพระนิพพานนั้น ต้องปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) อันเป็น
ทางเอกสายเดียวที่จะทำให้หลุดพ้นจากกิเลสไปสู่พระนิพพาน ซึ่งการปฏิบัติจะได้ผลหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ
ว่าปฏิบัติได้ถูกวิธีหรือไม่ ถ้าผิดวิธี แม้ปรารถนาผลก็ไม่อาจได้รับผลนั้น ดังที่พระพุทธองค์ทรงอุปมาไว้ใน
ภูมิชสูตร ว่า
1. ต้องการน้ำมัน ไพล่ไปคั้นจากทราย
2. ต้องการน้ำนมโค ไพล่ไปรีดจากเขาแม่โคลูกอ่อน
3. ต้องการเนยข้น ไพล่ไปเคี่ยวจากน้ำ
4. ต้องการไฟ ไพล่ไปเอาไม้สดมาสีกัน
ผู้เปรียบดังชนทั้ง 4 พวกนี้ ย่อมไม่ได้รับผลแห่งการปฏิบัติ แต่อีก 4 พวก คือ
1. ต้องการน้ำมัน ก็คั้นจากเมล็ดงา
2. ต้องการน้ำนมโค ก็รีดจากนมแม่โคลูกอ่อน
3. ต้องการเนยข้น ก็เคี่ยวจากนมส้ม
4. ต้องการไฟ ก็เอาไม้แห้งสีกัน
ชนเหล่านี้ย่อมได้รับผลจากการปฏิบัติ แม้ไม่หวังก็ต้องได้ เพราะปฏิบัติถูกจุด และถูกวิธี
11.1 วัตถุประสงค์ของการเจริญภาวนา
วัตถุประสงค์ของการเจริญภาวนาที่สอดคล้องสัมพันธ์กับเป้าหมายชีวิต ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 1
มี 3 ประการ คือ
1
1. เพื่อให้ได้สุขในปัจจุบัน
2. เพื่อให้ได้สุขในสัมปรายภพ
3. เพื่อให้ได้สุขอย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
ภูมิชสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 410-418 หน้า 103-108.
190 DOU บ ท ที่ 11 วั ต ถุ ประสงค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา