ระดับของการเจริญสมาธิและอุปสรรค SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 194
หน้าที่ 194 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงระดับของการเจริญสมาธิ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยอุปสรรคในการเจริญสมาธิคือ นิวรณ์ที่มีด้วยกัน 5 อย่าง คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ ซึ่งทำให้จิตไม่สงบและไม่ได้รับผลดีในการทำสมาธิ อุปสรรคเหล่านี้ทำให้ผู้ฝึกสมาธิต้องระมัดระวังและหาวิธีการที่จะเอาชนะมันได้.

หัวข้อประเด็น

-ระดับของการเจริญสมาธิ
-ขณิกสมาธิ
-อุปจารสมาธิ
-อัปปนาสมาธิ
-นิวรณ์
-อุปสรรคในการทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

10.8 ระดับของการเจริญสมาธิ การฝึกใจให้หยุดนิ่งจนกระทั่งเกิดสภาวะที่เป็นสมาธิ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 1. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ เป็นสมาธิในระดับที่คนทั่วๆ ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์ การขับรถ เป็นต้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญสมาธิ ในขั้นต่อๆ ไป 2. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิขั้นเฉียดๆ หรือสมาธิที่จวนเจียนจะแน่วแน่ เป็นสมาธิในระดับที่สามารถ ระงับนิวรณ์ หรือสิ่งที่เป็นศัตรูของสมาธิได้ ก่อนที่จะเข้าสู่สภาวะแห่งฌาน 3. อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ หรือสมาธิที่แนบสนิท เป็นสมาธิระดับสูงสุดซึ่งมีอยู่ในฌาน ทั้งหลาย ถือว่าเป็นผลสำเร็จที่ต้องการในการเจริญสมาธิ 10.9 อุปสรรคของการเจริญสมาธิ อุปสรรคที่สำคัญของการเจริญสมาธิ โดยเฉพาะในระดับอุปจารสมาธิ คือ นิวรณ์ นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น เครื่องกัน หรือเครื่องขัดขวาง คือ ขัดขวางไม่ให้เราประสบความเจริญ ไม่ให้เราทำสมาธิได้ผล ไม่ให้เราได้รับความสุข กล่าวอีกนัยหนึ่ง นิวรณ์ คือ กิเลสที่ทำให้จิตมัวหมอง และ กันจิตไม่ให้บรรลุความดีนั่นเอง นิวรณ์ มีอยู่ 5 อย่าง คือ 1. กามฉันทะ คือ ความรักใคร่ในทางกาม ความยินดีในกามคุณทั้ง 5 อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ใด จิตใจก็เร่าร้อนประดุจดังไฟเผาจิตใจของบุคคลผู้นั้น 2. พยาบาท คือ ความปองร้าย ความอาฆาต การผูกพยาบาทอาฆาตปองร้ายนั้นเปรียบเสมือน ไฟที่เผาผลาญจิตใจของเรามิให้สุขสงบ 3. ถีนมิทธะ คือ ความท้อแท้ และความเกียจคร้าน กิเลส 2 ชนิดนี้เปรียบเสมือนเชื้อราที่จับต้นไม้ หรือพืชผักให้เหี่ยวเฉาตาย เพราะเมื่อกิเลส 2 ชนิดนี้จับจิตใจของเรา จะทำให้เราท้อแท้และหมดกำลังใจที่จะ ทําความดี อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส คุหัฏฐกสุตตนิทเทส, มก. เล่ม 65 หน้า 303. ราสิสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 52 หน้า 126 บท ที่ 10 ส า ร ะ สำ คั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภาวนา DOU 183
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More