การบำเพ็ญศีลบารมีและเนกขัมมบารมี SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 225
หน้าที่ 225 / 226

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสำคัญของการปฏิบัติศีลและการออกบวชเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาบารมีที่นำไปสู่การบรรลุพระโพธิญาณ ผ่านการเปรียบเทียบค่านิยมต่างๆ และขั้นตอนในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องซึ่งมีทั้งศีลบารมี ศีลอุปบารมี และศีลปรมัตถบารมี รวมถึงเนกขัมมบารมีในการออกบวชเพื่อการเจริญภาวนา, การสร้างบารมีและความตั้งใจในการเข้าสู่การเป็นพระพุทธเจ้า.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของศีลบารมี
-การปฏิบัติเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ
-ขั้นตอนของศีลต่างๆ
-การออกบวชเพื่อเจริญภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ 2 นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนา เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ปลดขนหางออกไม่ได้ ก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด ท่านจง บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้ง 4 จงรักษาศีลไว้ทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้นเถิด” สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์นั้น การรักษาศีลของ พระองค์ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น กว่าที่บารมีของพระองค์จะเต็มเปี่ยม บางครั้งต้องแลกด้วยชีวิต พระองค์จึงผ่านการรักษาศีลมาอย่างเข้มข้นที่สุด จนเกิดบารมีถึง 3 ขั้น คือ 1. ศีลบารมี คือ การรักษาศีลด้วยความรักศีลยิ่งกว่าสมบัติภายนอก เมื่อถึงคราวต้องทำผิดศีล ก็ ยอมเสียสละสมบัติภายนอกออกไป เพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลบารมี 2. ศีลอุปบารมี คือ การรักษาศีลด้วยความรักศีลยิ่งกว่าอวัยวะในร่างกายของตน เมื่อถึงคราว ต้องทำผิดศีล ก็ยอมเสียสละอวัยวะ เลือดเนื้อ เพื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลอุปบารมี 3. ศีลปรมัตถบารมี คือ การรักษาศีลด้วยความรักศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน เมื่อถึงคราวต้องทำผิดศีล ก็ยอมเสียสละชีวิต เพื่อรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ชื่อว่าบำเพ็ญศีลปรมัตถบารมี 12.5.3 การออกบวชเพื่อเจริญภาวนา เป็นบารมี เมื่อสุเมธดาบสพิจารณาเห็นศีลบารมีแล้ว ต่อจากนั้นจึงพิจารณาต่อไปถึงเนกขัมมบารมี คือ การออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ดังมีหลักฐานแสดงไว้ใน ขุททกนิกาย อปทาน ดังนี้ ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรม(บารมี 10 ทัศ)ทั้งหลายจะไม่พึงมีประมาณ เท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีข้อที่ 3 จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธ บัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้เนกขัมมบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ใน เรือนจำมาเป็นเวลานาน มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้รำคาญอย่างเดียว ไม่อยากอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ คือการ ออกจากกามเท่านั้น ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่ 3 กระทำให้มั่นแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่ม พระโพธิญาณ คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีข้อที่ 3 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ใน อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน สุเมธกถา, มก. เล่ม 70 หน้า 50. 214 DOU บท ที่ 12 ท า น ศีล ภ า ว นา คื อ บ ท ส รุ ป ข อ ง วิถี ชี วิ ต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More