ประเภทของสงฆ์และการถวายสังฆทาน SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 42
หน้าที่ 42 / 226

สรุปเนื้อหา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงประเภทของสงฆ์ไว้ 7 ประเภท รวมถึงวิธีการถวายทานที่เหมาะสมแก่สงฆ์ในปัจจุบัน โดยสามารถถวายทานได้แก่ภิกษุที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ 2 ฝ่ายและภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามความเหมาะสม ยกตัวอย่างเรื่องของกุฎมพีที่เคารพต่อสงฆ์ควรแก่ภิกษุทุศีลเหมือนกันกับพระพุทธเจ้า ผู้ที่เชื่อในพระพุทธศาสนาจะรู้วิธีการถวายทานอย่างถูกต้องและมีเคารพ.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของสงฆ์
-การถวายสังฆทาน
-ความเคารพในสงฆ์
-บทบาทของพระภิกษุ
-กุฎมพีในพระไตรปิฎก
-คำสำคัญเกี่ยวกับสังฆทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า “สงฆ์” มี 7 ประเภท และเมื่อบุคคลใดได้ถวายทาน แด่สงฆ์ประเภทใดประเภทหนึ่งนั้น ก็เรียกว่า สังฆทาน สงฆ์ทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ 1. สงฆ์ 2 ฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข 2. สงฆ์ 2 ฝ่าย ในเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว 3. ภิกษุสงฆ์ 4. ภิกษุณีสงฆ์ 5. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ 2 ฝ่าย 6. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากภิกษุสงฆ์ 7. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากภิกษุณีสงฆ์ สรุปว่า ในปัจจุบันนี้ เราสามารถถวายทานแด่สงฆ์ได้เฉพาะในข้อที่ 3 และ 6 (เพราะภิกษุณีสงฆ์ ไม่มีแล้ว) สงฆ์จึงมีอยู่ 2 แบบ คือ 1. ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป จัดว่าเป็นสงฆ์ตามพระวินัย ดังนั้น การถวายทานแด่หมู่ภิกษุที่ไม่ เจาะจง ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ก็จัดเป็นสังฆทาน 2. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้ไปรับไทยธรรม เช่น เราไปนิมนต์ โดยขอภิกษุ กับคณะสงฆ์ว่า “ขอจงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปรับสังฆทานที่บ้านด้วย” ครั้นได้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็มีความเคารพ ยำเกรงในภิกษุรูปนั้น ยินดีว่าได้สงฆ์มาแล้ว ก็เต็มใจถวายทานนั้น ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า สังฆทาน เหมือนกัน ดังมีเรื่องปรากฏในพระไตรปิฎกว่า กุฎมพีผู้เคารพสงฆ์ กุฎมพี” คนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดแห่งหนึ่ง โดยปกติแล้วเขามีความเลื่อมใสในภิกษุผู้มีศีลาจารวัตร อันงาม แต่ไม่เคารพในภิกษุผู้ทุศีลเลย ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า “ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า” แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง เขาก็ปฏิบัติต่อภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่ง เสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะ พร้อมล้างเท้าให้ภิกษุรูปนั้น เอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรมด้วย ความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรงต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉัน ภัตตาหารแล้วก็กลับวัด ทักขิณาวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, เล่มที่ 23 ข้อ 712 หน้า 394. ทักขิณาวิภังคสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ทักขิณาวิภังคสูตร, เล่มที่ 23 หน้า 408. กุฎมพี แปลว่า คนมั่งมี หรือพ่อเรือน บทที่ 2 ท า น คื อ อะไร DOU 31
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More