ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. ย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติมากมาย หมายความว่า ศีล ย่อมทำให้ผู้รักษาได้โภคทรัพย์ประการ
หนึ่ง และใช้ได้อย่างเต็มที่อีกประการหนึ่ง
ศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้อย่างไร เราจะสังเกตเห็นได้โดยทั่วไป จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล
และเอกชน ล้วนต้องการบุคลากรที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น ดังนั้นในการสมัครเข้าทำงานหรือแต่งตั้งบุคลากร
ประจำตำแหน่งต่างๆ ผู้มีศีลสมบูรณ์ย่อมได้รับการพิจารณาก่อน เพราะเหตุแห่งศีลในตัวเขา
ทำให้เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ อันเนื่องจากความประพฤติ และการแสดงออกอันดีงาม สม่ำเสมอ
จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้พบเห็นหรือผู้ร่วมงาน
บิดามารดาที่มีโภคทรัพย์สมบัติ เมื่อถึงคราวที่จะมอบทรัพย์ให้แก่บุตรหลาน ย่อมต้องพิจารณา
เลือกสรร ผู้ที่ประพฤติตัวดี มีศีล มีธรรม เพื่อความมั่นใจว่าผู้นั้นจะสามารถรักษาทรัพย์สมบัติที่มอบให้ได้
และสามารถใช้ทรัพย์นั้นไปเพื่อทำประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะถ้าบิดามารดาเป็นชาวพุทธ ย่อม
ปรารถนาให้บุตรหลานนำทรัพย์นั้นไปสร้างบุญกุศล เพื่ออุทิศบุญกุศลนั้นแก่ตนในโลกหน้า
ศีลทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มที่คืออย่างไรทรัพย์ที่เราได้มาด้วยความทุจริตย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายใจ
ทุกครั้งที่ได้ใช้ หรือเมื่อได้นึกถึง คนโบราณมักกล่าวว่า สิ่งของที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรมเปรียบเสมือนมีผีสิง
ทั้งนี้เพราะเจ้าของจะหวาดผวาทุกครั้งที่ได้เห็นทรัพย์สินที่ตนได้มาโดยทุจริต ส่วนผู้ที่ได้ทรัพย์มาด้วยความ
สุจริต ย่อมภาคภูมิใจในทรัพย์ที่ตนหามาได้ เมื่อจะใช้ทรัพย์ ย่อมใช้โดยปราศจากความหวาดระแวง
2. กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป หมายความว่า บุคคลรอบข้างย่อมเห็นความประพฤติ
อันดีงามของคนมีศีล คนมีศีลจึงเป็นที่รัก ที่พอใจของบุคคลรอบข้าง เขาเหล่านั้นกล่าวถึง ย่อมกล่าวแต่สิ่ง
ดีงาม และความประทับใจที่ได้รับ ความดีนี้เองย่อมเป็นที่แพร่หลายออกไป ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
“กลิ่นกฤษณาและกลิ่นจันทน์ ยังหอมน้อยกว่า กลิ่นหอมของผู้มีศีล
ซึ่งหอมฟุ้งขจรไกล ถึงปวงเทพไทเทวา และมนุษย์ทั้งหลาย”
3. มีความองอาจเมื่อไปสู่ชุมชนใดๆ หมายความว่า ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ มีความภาคภูมิใจ
ในความดีของตน มีใจเป็นปกติ ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครรู้กรรมชั่วของตน เพราะรักษาศีลมาเป็นอย่างดี
คนมีศีลใครๆ ก็ชอบ จะเข้าไปสู่ที่ชุมชนใดก็ตาม ย่อมมีความอาจหาญเข้าไป
4. ไม่เป็นผู้หลงตาย หมายความว่า คนมีศีลย่อมมีสติสมบูรณ์ อันเนื่องมาจากการได้ฝึกสติอยู่เสมอๆ
เพราะเมื่อจะกระทำสิ่งใดก็ตาม ต้องคอยระมัดระวังไม่ให้ผิดศีล ครั้นเมื่อถึงคราวที่หมดบุญ หมดอายุขัย
ก่อนที่จะลาจากโลกนี้ไป ย่อมมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เพราะได้ฝึกมาอย่างดีแล้ว ทั้งยังเห็นการกระทำอัน
ดีงามจากการรักษาศีลของตน ย่อมปลื้มปีติใจ
1 อรรถกถาขุททกนิกาย ฉักกนิบาตชาดก ตุณฑลชาดก, มก. เล่ม 59 หน้า 146.
บทที่ 8 อ า น ส ง ส ข อ ง ก า ร รั ก ษ า ศีล DOU 137