ศีล 8 และอุโบสถศีล SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 173
หน้าที่ 173 / 226

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับศีล 8 ในพุทธศาสนา ประกอบด้วยหลักการปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้รักษาศีลมีความอดทนสูงขึ้นและสามารถพิจารณาธรรมได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเดินทางลัดไปสู่พระนิพพาน รวมถึงข้อปฏิบัติของอุโบสถศีลและความสำคัญในการพัฒนาตนเองตามหลักธรรม เพื่อความก้าวหน้าในชีวิตทางจิตใจ ยกตัวอย่างข้อการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น การบริโภคอาหาร การฟ้อนรำ ดนตรี การประดับตกแต่งร่างกาย และการนอน.

หัวข้อประเด็น

-ศีลข้อ 6
-ศีลข้อ 7
-ศีลข้อ 8
-อุโบสถศีล
-การพัฒนาตนเอง
-การเดินทางสู่พระนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศีลข้อ 6 การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีองค์ 4 คือ 1. บริโภคหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ 2. ของเคี้ยวนั้นสงเคราะห์เข้าในอาหาร 3. พยายามเคี้ยวกินของเคี้ยวนั้น 4. ของเคี้ยวนั้นล่วงพ้นลำคอลงไป ศีลข้อ 7 การฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่น อันเป็นข้าศึกแก่การกุศล ตลอดจน ลูบไล้ ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา มีองค์ 2 คือ คือ 1. ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีด้วยตนเอง 2. ดูหรือฟังการฟ้อนรำ การขับร้อง และการประโคมดนตรี และการละเล่นต่างๆ ที่คนอื่นประกอบขึ้น การลูบไล้ ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา มีองค์ 3 1. เครื่องประดับนั้นเป็นดอกไม้และของหอม 2. ไม่มีเหตุเจ็บไข้ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้ได้ 3. ลูบไล้ทัดทรงด้วยจิตคิดประดับตกแต่งให้สวยงาม ศีลข้อ 8 การนอนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี มีองค์ 3 คือ 1. ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ 2. รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ 3. นั่งหรือนอนเหนือที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่นั้น จะเห็นว่า ผู้ที่จะรักษาศีล 8 ได้สมบูรณ์นั้น จะต้องมีความอดทนสูงกว่าผู้ที่รักษาศีล 5 ในขณะ เดียวกัน ผู้ที่รักษาศีล 8 ได้ ย่อมสามารถยกใจให้สูงขึ้นเหนือมนุษย์ธรรมดาทั่วไป เพราะได้มีโอกาส พิจารณาธรรมสูงขึ้น การรักษาศีล 8 จึงเป็นการเดินทางลัดไปสู่พระนิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต 9.2 อุโบสถศีล อุโบสถศีล คือ ข้อปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นเดียวกับศีล 8 อุบาสกอุบาสิกาจะ สมาทานรักษาเป็นประจำในวันพระ คือ วันขึ้น และแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ (แรม 14 ค่ำในเดือนขาด) มีองค์สิกขาบท และองค์แห่งศีลเหมือนกัน ต่างกันแต่คำอาราธนา คำสมาทาน และกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น อุโบสถ แปลว่า การเข้าอยู่ หรือดิถีอันวิเศษที่จะเข้าจำศีล การถืออุโบสถจะมีเวลากำหนด เช่น หนึ่งวันกับหนึ่งคืน โดยกำหนดเอาอรุณแห่งวันรุ่งขึ้นหรือเวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น ซึ่งมีสองระยะ คือ มีแสงขาว เรื่อๆ (แสงเงิน)และแสงแดง (แสงทอง) ในเวลาย่ำรุ่ง เป็นการหมดเขตการสมาทานหรือหมดเวลา การรักษาอุโบสถศีล ส่วนศีล 8 ไม่มีเวลากำหนด สามารถรักษาได้ตลอดเวลา 162 DOU บทที่ 9 ศีล 8 แ ล ะ อุโบสถ ศี ล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More