กุศโลบายในการรักษาศีล 8 SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 178
หน้าที่ 178 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวทางและกุศโลบายในการรักษาศีล 8 โดยแนะนำวิธีการที่เหมาะสมสำหรับฆราวาสที่มีและไม่มีครอบครัว ผู้ไม่มีครอบครัวควรเริ่มจากการรักษาศีลทีละข้อ และเพิ่มขึ้นตามความสามารถ โดยเน้นการรักษาศีลในวันพระ ส่วนผู้มีครอบครัวควรชักชวนคู่ครองเข้าวัดและใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องมีความพร้อมและความยินดีจากทั้งคู่ จนสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติ.

หัวข้อประเด็น

- การรักษาศีล 8
- ฆราวาสและศีล
- กุศโลบายการปฏิบัติ
- การพัฒนาคุณภาพชีวิต
- ความสำคัญของการรักษาศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9.5 กุศโลบายในการรักษาศีล 8 เมื่อได้ศึกษาเรื่องของศีล 8 มาพอสมควรแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะได้ลงมือปฏิบัติให้เกิดผลจริงๆ แต่เนื่องจากศีล 8 มีข้อจำกัดบางสิ่งที่ผู้มีชีวิตอยู่ทางโลกไม่คุ้นเคยกัน ดังนั้นแม้การรักษาศีล 8 จะเป็นความดี ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และจิตใจให้สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วก็ตาม แต่หลายท่านก็ยังไม่อาจหาญที่จะลอง ปฏิบัติตามดู ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยความไม่คุ้นเคยบ้าง มีภารกิจการงานบ้าง ขาดกำลังใจบ้าง ยิ่งบางท่านที่มี ครอบครัวแล้ว การรักษาศีล 8 ดูเหมือนจะทำได้ยากขึ้นไปเป็นทวีคูณ แต่ไม่ว่าอย่างไร สำหรับผู้ที่อยากฝึก รักษาศีล 8 ให้ได้อย่างสม่ำเสมอนั้น ก็อาจจะทดลองทำดังนี้ คือ 9.5.1 สำหรับฆราวาสผู้ไม่มีครอบครัว ผู้ที่ไม่ครองเรือน ควรเริ่มต้นรักษาศีล 8 จากง่ายๆ ก่อน คือ ให้เริ่มทดลองรักษาศีลไปทีละข้อ แล้ว ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมั่นใจว่าเราทำได้ ก็ให้เพิ่มข้อต่อไปจนครบทุกข้อ โดยในระยะแรกๆ ที่ เพิ่มจำนวนข้อเข้าไป ยังไม่ต้องไปกังวลใจเรื่องเวลา ค่อยๆ ปรับไปจนกว่าเราจะคุ้นเคยกับการรักษาศีลนั้น หลังจากฝึกรักษาศีล 8 จนคุ้นชินเป็นนิสัยแล้ว ก็ให้เริ่มขยับไปรักษาศีลในทุกวันพระ แล้วค่อยๆ เพิ่มในวันรับ วันส่ง วันเกิด หรือวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ คือพยายามหาทางเพิ่มวันเรื่อยไป จนสามารถ ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการรักษาศีล 8 อย่างเป็นธรรมชาติได้ในที่สุด 9.5.2 สำหรับฆราวาสผู้มีครอบครัวแล้ว ผู้ที่ตั้งใจจะรักษาศีล 8 แต่มีคู่ครองแล้ว บางครั้งทำได้ยากเนื่องจากคู่ครองอาจจะไม่เข้าใจ ดังนั้น ควรมีกุศโลบายในการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มต้นจากง่ายไปสู่ยากตามลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน โดย ขั้นแรกให้ชักชวนคู่ครองของเราเข้าวัดฟังธรรม รักษาศีล 5 เพื่อตอกย้ำ และปรับใจให้เป็นสัมมาทิฏฐิ เสียก่อน จนกระทั่งใจละเอียดอ่อนจนเกิดความพร้อม และสมัครใจ จึงค่อยๆ ทดลองรักษากันไปพร้อมๆ กัน การรักษาก็ให้เพิ่มจำนวนวันไปช้าๆ เหมือนกับที่แนะนำมาสำหรับผู้ไม่มีครอบครัว คืออาจเริ่มรักษา เฉพาะในวันพระก่อน ต่อจากนั้นจึงขยับเพิ่มขึ้นในวันโกน วันเกิด วันนักขัตฤกษ์ต่างๆ กระทั่งเกิดความ คุ้นเคยจนเป็นนิสัย อย่างไรก็ตาม ลำดับวิธีการทั้งหมดนี้ ต้องตั้งอยู่บนเหตุผลด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือต้อง มีความยินดีพร้อมใจกัน รวมทั้งให้เวลาในการปรับตัวตามระดับความแก่อ่อนของอินทรีย์ หรือความสามารถ ของแต่ละบุคคล ในทุกๆ ขั้นตอนของการพัฒนา จนในที่สุดก็จะสามารถรักษาศีล 8 ได้อย่างเป็น ธรรมชาติในที่สุด บทที่ 9 ศีล 8 แ ล ะ อุโบสถ ศีล DOU 167
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More