ข้อความต้นฉบับในหน้า
การสมาทานอุโบสถศีล จะสมาทานร่วมกันทุกข้อ เรียกว่า เอกชฌสมาทาน ดังนั้นการรักษา
อุโบสศีลจึงต้องรักษารวมกันทุกสิกขาบทหรือทุกข้อ ถ้าขาดข้อใดไปก็คือว่าศีลขาดจากความเป็นผู้รักษา
อุโบสถศีล
ประเภทของอุโบสถศีล
อุโบสถศีล แบ่งออกตามช่วงเวลาในการรักษาศีลได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ปกติอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลา 1 วัน กับ 1 คืน โดยมากรักษากันในวันขึ้น
หรือแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำ ในเดือน หรือเป็นการรักษากันในวันพระนั่นเอง ปกติอุโบสถ
จัดเป็นอุโบสถขั้นต้น
2. ปฏิชาครอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลานานถึง 3 วัน ตัวอย่างเช่น วัน 7 ค่ำ เป็น
วันรับอุโบสถ วัน 8 ค่ำเป็นวันรักษาอุโบสถ วัน 9 ค่ำ เป็นวันส่งอุโบสถ รวมเป็น 3 วัน คือ วันรับ วันรักษา
และวันส่ง ปฏิชาครอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นกลาง
3. ปาฏิหาริยอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่มีกำหนดเวลาดังนี้
1) อย่างต่ำ เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึง แรม 14 ค่ำ เดือน 11 รวม 14 วัน
2) อย่างสูง เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 รวม 4 เดือน ปาฏิ
หาริยอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นสูง
9.3 การสมาทานศีล 8
วิธีการรักษาศีล 8 สามารถเลือกได้ 2 วิธี ตามความเหมาะสมของแต่ละคน เช่นเดียวกับวิธีการ
รักษาศีล 5 แตกต่างกันที่คำอาราธนา และคำสมาทาน คือ
1. สมาทานศีลด้วยตนเอง
2. ขอสมาทานศีล 8 จากพระภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง
9.3.1 คําอาราธนาศีล 8
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณะ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณะ แม้ครั้งที่ 2
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณะ แม้ครั้งที่ 3
บทที่ 9 ศีล 8 แ ล ะ อุโบสถศีล
DOU 163