การปฏิสสวะและการดื่มน้ำเมา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 135
หน้าที่ 135 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอคำว่า 'ปฏิสสวะ' ซึ่งเกี่ยวกับการรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์แต่กลับไม่ทำตาม โดยมีตัวอย่างเช่น การผิดสัญญา เสียสัตย์ และคืนคำ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายยถาสัญญาที่พิจารณาจากโวหาร และส่วนต่าง ๆ ของการพูดด้วยความเข้าใจผิดหรือความพลั้งเผลอ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการดื่มน้ำเมา โดยต้องมีองค์ 4 ที่ประกอบด้วย น้ำที่ดื่ม, จิตคิดจะดื่ม, ความพยายามในการดื่ม, และน้ำเมาที่ล่วงพ้นลำคอลงไป ซึ่งกระทบต่อศีลตามกิเลสและปริมาณที่ดื่ม.

หัวข้อประเด็น

-ปฏิสสวะ
-คืนคำ
-การพูดเท็จ
-การดื่มน้ำเมา
-ผลกระทบต่อศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตาม ที่รับนั้น ได้แก่ ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้ - เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น - คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่ • ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ 1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่ง ใจจริงอาจไม่เคารพเลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล 2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์ 3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด 4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ • การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด 2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด 3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า “ไม่มี” เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก - บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน “รู้เห็น” ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก 7.2.5 การดื่มน้ำเมา • องค์แห่งการดื่มน้ำเมา การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา 2. มีจิตคิดจะดื่ม 3. พยายามดื่ม 4. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป • การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 1. อกุศลจิตหรือกิเลสในการดื่ม 2. ปริมาณที่ดื่ม 124 DOU บ ท ที่ 1 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More