ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. มีโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณาตามธรรมนั้นโดยแยบคาย รู้จักจับแง่มุมดีๆ มาขบคิดพิจารณา
ซึ่งจะส่งผลให้มีปัญญาแตกฉานในธรรมได้อย่างรวดเร็ว
4.5.2 กาลที่ควรฟังธรรม
1. วันธรรมสวนะ หรือวันพระนั่นเอง แต่ในปัจจุบัน อาจเลือกเอาวันที่เราว่างจากภารกิจทั้งหลาย
เช่น วันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันที่ทางวัดกำหนดให้มีการแสดงธรรม
2. เมื่อเวลาที่จิตถูกวิตกครอบงำ คือ เมื่อใจเราคิดไม่ดี เกิดความขุ่นมัว เศร้าหมองไม่ผ่องใส หรือ
มีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ เมื่อนั้นก็ควรไปฟังธรรม เช่นในเวลาที่เกิดความคิดฟุ้งซ่านด้วยเรื่องทางเพศ
(กามวิตก) หรือเมื่อเกิดความโกรธ อยากทำร้ายทำลายผู้อื่น (พยาบาทวิตก) หรือเมื่อเกิดความคิดอยาก
เบียดเบียน กลั่นแกล้งใคร (วิหิงสาวิตก) ก็ให้รีบขวนขวายไปฟังธรรมโดยเร็ว
3. เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม เพราะบุคคลอย่างนี้หาได้ยาก ดังนั้น เมื่อมีโอกาสที่จะได้ประโยชน์
จากท่าน ก็ไม่ควรปล่อยให้ผ่านไป
4.6 อานิสงส์ของการฟังธรรม
ธรรมทานจะยังประโยชน์สุขให้เกิดอย่างเต็มที่ ต่อเมื่อผู้ให้ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และผู้รับฟังต้อง
ตั้งใจฟังด้วยดี ดังนั้น เมื่อเราจะฟังธรรม จึงฟังด้วยความเคารพทั้งกาย วาจา ใจ เมื่อตั้งใจเช่นนี้แล้ว
การฟังธรรมย่อมมีอานิสงส์ดีเลิศ ดังต่อไปนี้ คือ
1. ย่อมได้ฟังในเรื่องที่ไม่ได้ฟังมาก่อน
2. สิ่งที่ฟังมาแล้ว ก็จะเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
3. บรรเทาความสงสัยได้
4. ได้ปรับความเห็นให้ตรงต่อหนทางพระนิพพาน
5. ย่อมยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
การฟังธรรมย่อมนำประโยชน์ใหญ่ให้เกิดขึ้น เพราะทำให้ผู้ฟังที่ไม่มีศรัทธา ให้เป็นผู้มีศรัทธา
เพิ่มขึ้น ทำผู้ที่ไม่เป็นพหูสูต ให้เป็นพหูสูตขึ้น ทำผู้ที่ไม่มีศีล สมาธิ และปัญญา ให้เป็นผู้ที่มีศีล สมาธิ และ
ปัญญาบริบูรณ์ และในที่สุด การฟังธรรม ย่อมเป็นเหตุนำให้ทุกๆ คนบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิต นั่นคือ
การได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
ธัมมัสสวนสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 202 หน้า 448.
บ ท ท 4
ท ที่ 4
ธรรมทาน
DOU 83