ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่จะช่วยให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างมั่นคงนั่นคือการกล่าวคำสมาทานศีล
เพราะการสมาทานศีล เป็นการแสดงออกซึ่งความสมัครใจอย่างเต็มที่ที่จะรักษาศีล โดยขอให้
พระภิกษุสงฆ์เป็นสักขีพยานในการทำความดีอันยิ่งใหญ่นี้ แล้วเราจึงอาราธนาและสมาทานศีล
ด้วยการเปล่งวาจาอย่างอาจหาญให้พระภิกษุสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน
เมื่อ กาย วาจา ใจ ของเราได้แสดงความมุ่งมั่น ยืนยันที่จะรักษาศีลต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็น
สักขีพยานแล้ว เราย่อมมีความรัก และความเคารพในศีลของเราอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเรารักษาศีลด้วย
ความรู้สึกอันงดงามเช่นนี้ ศีลของเราก็ย่อมจะบริสุทธิ์งดงามโดยไม่ต้องสงสัยใดๆ
คําอาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่
การรักษาศีล)
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่
การรักษาศีล แม้ครั้งที่สอง)
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่
การรักษาศีล แม้ครั้งที่สาม)
(ถ้าอาราธนาศีลเพื่อตนเองตามลำพัง ให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)
นมการคาถา (กล่าวคำนอบน้อม)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (กล่าว 3 หน)
(ขอนอบน้อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
คําขอสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ)
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ)
126 DOU บ ท ที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล