อนุโลมการฆ่าและผลกระทบต่อศีล SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 131
หน้าที่ 131 / 226

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการฆ่าสัตว์และอนุโลมการฆ่าที่เป็นการกระทำที่ไม่สมควร เช่น การทำร้ายร่างกายและการทารุณกรรมสัตว์ สรุปผลกระทบของการฆ่าสัตว์ตามคุณและขนาดของสัตว์ รวมถึงเจตนาในการฆ่า โดยการฆ่าสัตว์ถือว่าศีลขาด แต่อนุโลมการฆ่านับว่าเป็นศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย โดยโทษของการฆ่าสัตว์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น คุณของสัตว์และความพยายามในการฆ่า จึงควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานนั้นและคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การฆ่าสัตว์
-อนุโลมการฆ่า
-โทษของการฆ่าสัตว์
-การทำร้ายร่างกาย
-การทารุณกรรมสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และ ถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย • อนุโลมการฆ่า นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรงดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความ ลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้ การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่ ทําให้พิการ ทำให้เสียโฉม ทําให้บาดเจ็บ การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่ การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร - กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขังปลาไว้ในที่แคบ นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน - เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน - ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป • การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น 2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก 3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย 4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่น การฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว 120 DOU บ ท ที่ 1 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More