ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในบรรดาเหตุของการให้ทานทั้งหลายเหล่านั้น ทานบางอย่างเราไม่จัดเป็นการให้ทานที่ถูกต้อง
ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำทานในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เช่น การให้เพราะหวังอยากได้ เนื่องจาก
เป็นการให้ด้วยใจที่ไม่บริสุทธิ์
วัตถุประสงค์ของการให้ทาน อาจแบ่งตามลักษณะของการให้ ที่ประพฤติปฏิบัติตามกันมา
ได้ 4 อย่าง คือ
1. การให้เพื่อชำระกิเลส คือความตระหนี้ในใจของผู้ให้ เรียกว่า บริจาคทาน หมายถึง การให้
ด้วยการเสียสละเพื่อกำจัดความขุ่นมัวแห่งจิต โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้รับจะเป็นใครก็ตาม การให้แบบนี้ได้บุญ
มากที่สุด ยิ่งเรามีใจที่บริสุทธิ์ และให้แก่ผู้ที่บริสุทธิ์มาก ก็จะยิ่งได้บุญมาก
2. การให้เพื่อตอบแทนคุณความดี เรียกว่า ปฏิการทาน หมายถึงการให้เพื่อตอบแทน
หรือบูชาคุณความดีแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า หรือผู้ที่มีอุปการะแก่ตน การให้แบบนี้ ผู้ให้อาจจะไม่นึกถึงบุญ
แต่นึกถึงเฉพาะคุณความดีของท่าน เช่น การให้สิ่งของแด่พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และบุคคลต่างๆ เป็นต้น
การให้เพื่อบูชาคุณความดีอย่างนี้ หากผู้ให้ได้นึกถึงบุญไปด้วย จะทำให้มีผลานิสงส์มากยิ่งขึ้น
3. การให้เพื่อสงเคราะห์ เรียกว่า สังคหทาน หมายถึง การให้เพื่อผูกมิตร ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
ในกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตน ไม่ว่าจะเป็นโดยส่วนตัว หรือโดยหน้าที่การงานก็ตาม โดยมุ่งที่จะ
ให้เกิดคุณประโยชน์แก่ผู้รับเป็นสำคัญ
4. การให้เพื่ออนุเคราะห์ เรียกว่า อนุคหทาน หมายถึงการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่คนยากจน
ด้วยจิตเมตตาสงสาร เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ได้ยาก ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ
ตนหรือไม่ก็ตาม ก็อนุเคราะห์ช่วยเหลือกันตามกำลัง
2.6 ประเภทของทาน
ประเภททานที่แบ่งตามวัตถุ คือ สิ่งของที่จะให้ มี 2 ประเภท คือ
1. อามิสทาน การให้อามิส คือการให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นทาน
2. ธรรมทาน การให้ธรรมะ คือการให้ความรู้ ความถูกต้องดีงาม เป็นทาน
2.6.1 อามิสทาน
อามิสทาน คือการให้สิ่งของเป็นทาน เช่น สิ่งของที่เป็นปัจจัยสี่ หรือการให้ทานวัตถุ มีข้าว น้ำ
ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย ประทีปโคมไฟ เป็นต้น
1
ทานสูตร, ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, เล่มที่ 45 ข้อ 278 หน้า 615.
28 DOU บ ท ที่ 2 ท า น คื อ อะไร