ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 8
อานิสงส์ของการรักษาศีล
เมื่อเราทราบความหมายของศีลอย่างถูกต้องแล้วว่า ศีลเป็นปกติของความเป็นมนุษย์ เป็นเจตนา
ละเว้นจากความชั่ว และได้ทราบความสำคัญของการรักษาศีลว่า ทำให้ได้รูปสมบัติที่เหมาะสมต่อการ
สร้างบารมีอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิตทั้งชาตินี้ ชาติหน้า และชาติสุดท้าย ที่จะส่งผล
ให้ได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการรักษาศีล ให้เกิดความบริสุทธิ์
บริบูรณ์อย่างถูกต้อง คือ ให้เกิดความเย็นกาย เย็นใจ เพราะได้เรียนรู้หลักในการวินิจฉัยว่า อย่างไรเรียกว่า
ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย
ความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เพียงพอแล้วสำหรับการเริ่มต้นลงมือรักษาศีล แต่ก็ยังไม่เพียงพอ
ต่อการรักษาศีลให้ได้ตลอดรอดฝั่ง เพราะเมื่อลงมือปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายบ้าง
ท้อแท้บ้างไม่รู้ว่ารักษาแล้วดีอย่างไร หรือมีเหตุให้ต้องทำผิดศีลบ้าง ทั้งนี้เพราะเรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม
ที่ทุกๆ คนก็ตกอยู่ในกระแสกิเลส การรักษาศีลจึงเป็นการทวนกระแสกิเลส ต้องออกแรงต้านกิเลสทั้งของ
ตนเอง และบุคคลรอบข้าง เหมือนกับคนที่ยืนอยู่ในแม่น้ำ แล้วออกแรงว่ายทวนกระแสน้ำไป
การรักษาศีลจึงต้องมีแรงบันดาลใจมากเพียงพอที่จะต้านกับกระแสกิเลสให้ได้ และแรงบันดาลใจ
หรือกำลังใจหรือแรงจูงใจเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราได้รับรู้ถึงผลหรืออานิสงส์ของการรักษาศีลว่าให้ผล
ดีมากมายเพียงไร และได้รู้ถึงโทษทัณฑ์ของผู้ละเมิดศีลว่ามีทุกข์โทษภัยร้ายแรงยาวนานเกินกว่าจะคาดคิด
8.1 อานิสงส์ของการรักษาศีล
8.1.1 อานิสงส์ของศีล 5
• อานิสงส์ของศีล 5 ประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของการรักษาศีลแก่ชาวปาฏลิคามในมหาปรินิพพานสูตร
ว่ามี 5 ประการ คือ
1. ย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติมากมาย
3. มีความองอาจเมื่อไปสู่ชุมชนใดๆ
2. กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป
4. ไม่เป็นผู้หลงตาย (ไม่ตายอย่างไร้สติ)
5. เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป
1
มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 ข้อ 80 หน้า 254-255.
136 DOU บ ท ที 8 อ า นิ ส ง ส ข อ ง ก า ร รั ก ษ า ศีล