ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องประสบกับความทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
อยู่ร่ำไป แต่เมื่อรักษาศีลได้เป็นอย่างดี สมาธิก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และเมื่อสมาธิเกิด ปัญญาก็เกิดตามมา
เมื่อปัญญาเกิด ก็สามารถจะกำจัดกิเลสอาสวะ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ดังนั้น การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพานอย่างนี้
5.4 ประเภทของศีล
ศีลนั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความมุ่งหมายของผู้รักษาว่ามุ่งหวังอย่างไร จะรักษาเพื่อคงความ
เป็นปกติของมนุษย์ไว้หรือรักษาเพื่อมุ่งยกระดับจิตใจให้บริสุทธิ์พ้นจากความเป็นมนุษย์ธรรมดา หรือจะรักษา
เพื่อความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ซึ่งหากกล่าวโดยสรุปแล้ว ศีล มี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
5.4.1 ศีล 5 (เบญจศีล, นิจศีล, จุลศีล)
เป็นศีลพื้นฐานอันสำคัญยิ่ง เพราะการที่เราจะรักษาความเป็นปกติของมนุษย์เอาไว้ได้นั้น จะต้อง
รักษาศีล 5 ไว้ให้มั่นคงเป็นอย่างน้อย ซึ่งศีลประเภทนี้ ฆราวาสผู้ที่ยังครองเรือนมีครอบครัวจะต้องพยายาม
รักษาให้ได้เป็นประจำ
ศีล 5 ได้แก่
1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
5.4.2 ศีล 8 (อุโบสถศีล, มัชฌิมศีล)
เป็นศีลที่รักษาในวันอุโบสถ (วันพระ) หรือในโอกาสพิเศษตามแต่ต้องการ เพื่อเป็นการยกจิตใจให้
ประณีตยิ่งขึ้น
ศีล 8 ได้แก่
1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
บทที่ 5 ศี ล คือ อะไร DOU 95