ข้อความต้นฉบับในหน้า
11.1.1 เพื่อให้ได้สุขในปัจจุบัน
คนเราทุกคนล้วนปรารถนาความสุขความสุขที่แท้จริงที่ไม่มีความทุกข์เจือปนต้องเริ่มต้นที่การเจริญ
ภาวนา อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การทำภาวนามีผลต่อการดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขที่แท้จริง
การทำสมาธิถือได้ว่าเป็นวิถีที่สำคัญต่อความเป็นไป และความเป็นอยู่ของทุกๆ คนที่เกิดมาบน
โลกใบนี้ ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่ามนุษย์เรานั้น ประกอบขึ้นด้วยส่วนสำคัญ 2 อย่างด้วยกัน คือ กายอย่าง
หนึ่ง และใจอย่างหนึ่ง ชีวิตจะดำเนินไปอย่างมีความสุขสมบูรณ์ได้ ย่อมขึ้นกับเงื่อนไขทางด้านร่างกาย และ
เงื่อนไขทางด้านจิตใจเข้ามาประกอบกัน การดูแลรักษาร่างกายให้มีความสุขความสบายนั้นเป็นสิ่งที่มี
ความจำเป็น มนุษย์เราจึงต่างแสวงหาปัจจัย 4 และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เข้ามาทำให้ชีวิต
มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ไม่ต้องประสบความทุกข์ยากลำบากใดๆ และเพื่อทำให้ชีวิตมีความมั่นคง แต่แม้กระนั้น
การดูแลรักษา จิตใจให้มีความสุขสบายอยู่ตลอดเวลา ยังถือว่าเป็นความจำเป็นยิ่งกว่ามากนัก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ชัดเจนว่า
“ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคล
ใดใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น ถ้าบุคคล
ใดมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น
เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น” 1
ดังนั้น ถ้าหากจัดลำดับความสำคัญแล้ว ใจย่อมมาก่อนกายเสมอ ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า “ใจเป็น
นาย กายเป็นบ่าว” แม้ร่างกายจะมีความสุขสบาย พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งหลายอยู่ตลอดเวลา มีทรัพย์
สินเงินทองพร้อมสรรพ มีข้าทาสบริวารหญิงชายพร้อมมูล แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าบุคคลนั้นจะมีความสุขใจ
ตรงกันข้าม บุคคลใดแม้ไม่ได้ครอบครองสมบัติพัสถานมากมาย มีเพียงปัจจัย 4 ที่พอยังอัตภาพให้เป็นไป
ได้เท่านั้น บุคคลนั้นย่อมประสบความสุขเบื้องต้นในชีวิตแล้ว นั่นคือสุขจากการปราศจากความกังวล
ห่วงใยในข้าวของเงินทอง และทรัพย์สมบัติทั้งหลาย คล้ายกับนกน้อยที่บินไปในอากาศ ที่มีเพียงปีกและ
หางเป็นภาระ ยิ่งบุคคลนั้นได้ทำภาวนา ได้ฝึกใจให้สงบ ให้หยุดนิ่งด้วยแล้ว เขาย่อมประสบกับความ
แช่มชื่น เบิกบาน ผ่องใส ซึ่งได้เกิดขึ้นภายในใจของเขาเอง เป็นความสุขอันยิ่งใหญ่ ที่เงินทองไม่อาจ
ซื้อหาได้ ดังที่พระภาวนาวิสุทธิคุณได้กล่าวไว้ดังนี้
“ความสุขอันเกิดจากจิตสงบ เป็นความสุขที่ซื้อหามาด้วยราคาถูกที่สุด
แต่กลับมีคุณค่ามหาศาลยิ่งกว่าสมบัติพัสถานใดๆ ทั้งสิ้น ความสุขของจิตที่แท้จริง
จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่หมั่นฝึกฝนหรืออบรมจิตอยู่เสมอ
1 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรค, มก. เล่ม 40 ข้อ 11 หน้า 1.
*พระภาวนาวิสุทธิคุณ และวิชัย สุธีรชานนท์, หลักการฝึกสมาธิและวิธีสอนการฝึกสมาธิระดับประถมและมัธยมศึกษา
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, 2535), หน้า 11.
บทที่ 11 วั ต ถุ ประสงค์ และ อานิสงส์ การเจริญภาวนา DOU 191