ข้อความต้นฉบับในหน้า
ถึงแม้เป้าหมายชีวิตในระดับที่ 3 จะทำได้ยาก แต่ถึงอย่างไร บุคคลก็ควรตั้งเป้าหมายชีวิตทั้ง 3
ระดับพร้อมกันไป ทั้งนี้เพราะฆราวาสที่ตั้งอยู่ในโลกิยสัมมาทิฏฐิอย่างมั่นคงสม่ำเสมอ ย่อมมีโอกาสบรรลุ
เป้าหมายระดับต้นในชาตินี้ และบรรลุเป้าหมายระดับกลางในโลกหน้าเป็นผลพลอยได้
ขณะที่เป็นฆราวาส ถ้ามีความตั้งใจจริงและมีอินทรีย์แก่กล้า แล้วตัดใจออกบวชเมื่อใดก็ตาม
ถ้าได้มีโอกาสพบกัลยาณมิตร เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ ก็อาจบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับ
สูงได้ แม้จะยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสอย่างเด็ดขาดในชาตินี้ ก็อาจก้าวขึ้นสู่ความเป็นอริยบุคคลระดับใด
ระดับหนึ่งได้
12.2 กิเลสและวิธีการเอาชนะ
12.2.1 กิเลสเป็นเครื่องขวางกั้นการเกิดสัมมาทิฏฐิ
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทนำว่าอุปสรรคอย่างสำคัญที่ขวางกั้นไม่ให้คนเราเกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นได้ คือ
กิเลส กิเลสเครื่องเศร้าหมองที่เป็นตัวบั่นทอนคุณภาพใจของเรานั้น อุปมาเหมือนกับเชื้อโรคที่เป็นเหตุให้
เราเจ็บไข้ไม่สบาย ซึ่งเชื้อโรคนั้นยังแบ่งออกได้เป็นอีกหลายชนิด แต่ละชนิดก็ก่อให้เกิดโรคที่มีอาการ
แตกต่างกันไป กิเลสในใจคนก็เช่นกัน มีประเภทที่แตกต่างกันถึง 3 ชนิด คือ
1. โลภะ คือ ความโลภ ความอยากได้ของผู้อื่น
2. โทสะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท อาฆาตผู้อื่น
3. โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้ไปตามความเป็นจริง
12.2.2 วิธีการเอาชนะกิเลส
วิธีการที่จะเอาชนะกระแสกิเลสทั้ง 3 ชนิดนี้ให้ได้ จะต้องสั่งสมบุญให้มากที่สุด เพราะบุญเป็นเครื่อง
ชำระล้างจิตใจให้ใสสะอาด เมื่อบุญเกิดขึ้นแล้วย่อมทำหน้าที่ชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีออกจากใจ กิเลส
เครื่องเศร้าหมองต่างๆ ที่ฝังอยู่ภายในใจก็จะค่อยๆ หลุดร่อนออกไปด้วยอานุภาพแห่งบุญ ใจจะมีพละกำลัง
ที่จะดึงดูดสิ่งดีๆ เข้ามาแทนที่ นับจากนี้ไปเราจะได้พบแต่สิ่งที่ดีงาม เมื่อพบคนก็จะพบแต่คนดี เมื่อได้ของ
ก็จะได้แต่ของที่ดี นี้ก็โดยอาศัยใจที่มีบุญหล่อเลี้ยงนั่นเอง เหตุแห่งการเกิดบุญ หรือทางมาแห่งบุญ มี
3 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละสิ่งของต่างๆ ของตน หรือให้ความรู้ทั้งทางโลกและ
ทางธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อกำจัดโลภะ
1
อินทรีย์แก่กล้า หมายถึง ใจที่ได้รับการพัฒนาจนมีคุณภาพสูง ซึ่งมีผลให้ 1) มีศรัทธา คือ เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม
อย่างลึกซึ้ง 2) มีวิริยะ คือ มีใจเข้มแข็ง พร้อมที่จะต่อสู้อุปสรรคทั้งมวล 3) มีสติ คือ มีความรู้ตัวเป็นอย่างดี ไม่เผลอไผลง่ายๆ
4) มีสมาธิ คือ มีจิตใจมั่นคง ไม่วอกแวก เมื่อประสบปัญหาต่างๆ 5) มีปัญญา คือ มีความเข้าใจโลกและชีวิตอย่างลึกซึ้ง
206 DOU บ ท ที่ 12 ท า น ศีล ภาวนา คื อ บ ท ส รุ ป ข อ ง วิถี ชี วิ ต