ข้อความต้นฉบับในหน้า
“สิ่งของที่พวกเธอได้นำมา จงนำกลับไปคืนยังเรือนของพวกเธอเถิด”
ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนานี้จบลง ภิกษุเหล่านั้นจึงเกิดความละอายและ
เกรงกลัวบาปอกุศล ต่างรักษาสติอยู่ในธรรมจนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบ
ว่าจิตของภิกษุเหล่านั้นเป็นสมาธิดีแล้วจึงทรงประกาศอริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจนั้นเอง ภิกษุทั้ง 500 รูป
ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต
พระโพธิสัตว์สามารถรักษาศีลได้อย่างหมดจดงดงามทั้งที่ท่านเป็นเพียงคนธรรมดาสามัญ เป็น
มานพผู้อ่อนเยาว์อยู่ในวัยเล่าเรียน ทั้งยังต้องตกอยู่ในภาวะบีบคั้น อันเนื่องมาจากคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์
แต่ท่านกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่สวนทางกับสังคมคนรอบข้างอย่างไม่หวั่นไหว ทั้งนี้เพราะท่านมีหิริโอตตัปปะ
อยู่ในใจ จึงไม่ยอมให้สิ่งใดมาเป็นข้ออ้าง หรือเงื่อนไขให้กระทำผิดศีลได้เลย
ผู้รักษาศีลด้วย หิริ โอตตัปปะ จึงรักษาได้อย่างมั่นคง และรักษาด้วยความจริงใจโดยไม่ต้อง
ให้ใครมาดูแลกำกับ
ตรงข้ามกับผู้ที่ปราศจากหิริ โอตตัปปะ นอกจากจะเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการสมาทานศีลแล้ว ยัง
เป็นผู้ที่ล่วงละเมิดศีลได้ง่าย ไม่ว่าเวลาใด หรือในที่แห่งใด ไม่ล่วงในที่แจ้ง ก็ล่วงในที่ลับ เพราะไม่มี หิริ
โอตตัปปะ คอยดูแลกำกับนั่นเอง
ดังคำกล่าวที่ว่า
“เมื่อมีหิริ และโอตตัปปะอยู่ ศีลก็เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้
เมื่อไม่มีหิริ และโอตตัปปะ
ศีลก็ไม่เกิดขึ้น และตั้งอยู่ไม่ได้”
หิริ โอตตัปปะ จึงเป็นธรรมะที่สร้างสรรค์สังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ทุกชีวิตปลอดภัย ได้พบ แต่สิ่ง
ที่ดีงาม มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งในชาติปัจจุบัน และสัมปรายภพ
• การเกิดหิริ
แม้ว่า หิริ โอตตัปปะ จะเป็นธรรมะที่สูงส่งถึงเพียงนี้ แต่กลับเป็นธรรมะที่สร้างสมขึ้นได้ ด้วยวิธี
ง่ายๆ กล่าวคือ
หิริ ความละอายต่อบาป เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาถึงฐานะของตนเอง 4 ประการ คือ
1. พิจารณาถึงชาติกำเนิดของตนเองว่า ตัวเราเกิดในตระกูลที่ประกอบอาชีพสุจริต เราจึง ไม่
ควรผิดศีล เลี้ยงชีพในทางที่ผิด ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล
อรรถกถาขุททกนิกาย ชาดก, เทวธรรมชาดก, มก. เล่ม 55 หน้า 206-207
130 DOU บทที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล