ข้อความต้นฉบับในหน้า
มหาธัมมปาลชาดก
ในอดีตกาล เมื่อครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่า
ธรรมปาละ เป็นผู้ปกครองบ้านธรรมปาลคาม พราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติธรรมรักษากุศลกรรมบถ 10
เป็นอย่างดี ท่านมีบุตรคนหนึ่ง ซึ่งตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เช่นกัน
เมื่อธรรมบาลกุมารเติบโตขึ้นได้ไปศึกษาเล่าเรียนในสำนักของอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งเมืองตักกสิลา
และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของชายหนุ่มจำนวน 500 คน ซึ่งเป็นศิษย์ในสำนักนั้น
ต่อมาบุตรคนโตของอาจารย์ได้เสียชีวิตลง ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของทุกคน เหล่าศิษย์
ทั้งหลายต่างพากันร้องไห้ คงมีแต่ธรรมบาลกุมารเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มิได้ร้องไห้ เนื่องจากเขารู้สึก
ประหลาดใจในการตายของผู้เป็นบุตรของอาจารย์ยิ่งนัก จึงถามชายหนุ่มทั้งหลายนั้นว่า
“เพื่อนเอ๋ย พวกท่านกล่าวว่า เสียดายที่ลูกของอาจารย์มาตายเสียตั้งแต่ยังหนุ่ม เขาตายได้อย่างไร
ในเมื่อคนหนุ่มสาวยังไม่ควรตายมิใช่หรือ”
(ช.) “ธรรมปาละ ท่านไม่รู้จักความตายหรอกหรือ”
(ธรรม.) “เรารู้ว่าคนจะตายเมื่อแก่ชรา แต่คนหนุ่มสาวนั้นยังไม่ควรตาย”
(ช.) “ก็สังขารนั้นไม่เที่ยงนะ ธรรมปาละ”
(ธรรม.) “ใช่ สังขารนั้นไม่เที่ยง แต่ก็ไม่ควรจะตายตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว ควรจะตายเมื่อแก่ชราแล้ว
ถึงจะถูก”
(ช.) “ธรรมปาละ ที่บ้านของท่านไม่เคยมีใครตายในวัยหนุ่มสาวบ้างเลยหรือ”
(ธรรม.) “ไม่เคยมี มีแต่ตายเมื่อแก่ชราแล้วทั้งนั้น”
(ช.) “ตระกูลของท่านเป็นเช่นนี้ตลอดมาเลยหรือ”
(ธรรม.) “ถูกแล้ว ตระกูลของเราเป็นเช่นนี้ตลอดมา”
ชายหนุ่มทั้งหลายได้ฟังถ้อยคำของธรรมปาลกุมารแล้ว
อาจารย์จึงเรียกธรรมบาลกุมารมาพบ แล้วถามว่า
ก็พากันไปเล่าให้อาจารย์ฟัง
“ธรรมปาละ จริงหรือที่ตระกูลของเธอไม่เคยมีใครตายในวัยหนุ่มสาวเลย”
ธรรมบาลกุมารตอบว่า “จริงขอรับ”
อรรถกถาขุททกนิกาย ทสกนิบาตชาดก มหาธัมมปาลชาดก, มก. เล่ม 59 หน้า 883-892.
142 DOU บ ท ที่ 8 อ า น ส ง ส ข อ ง ก า ร รั ก ษ า ศีล