ลักษณะของสัตบุรุษในพระพุทธศาสนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 21
หน้าที่ 21 / 226

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะของสัตบุรุษซึ่งเป็นผู้มีความเห็นว่าผลของกรรมมีจริง สัตบุรุษคือผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิในการเชื่อมั่นในกรรม บุญ และบาป การทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตที่นำสู่ความสุข พระศาสนาได้สอนให้เราศึกษาและปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสุขที่แท้จริงในชีวิต การแบ่งปันและการทำทานช่วยให้เราเป็นที่รักของผู้อื่นและเป็นที่พึ่งพาได้ บุคคลที่มีความสามารถในการยับยั้งความโกรธและมีสติจะทำให้สังคมสงบสุขมากยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะของสัตบุรุษ
-การทำทาน
-กรรมและผลแห่งกรรม
-การอยู่ร่วมกันในสังคม
-ความสำคัญของสัมมาทิฏฐิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะของสัตบุรุษไว้ ดังนี้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้และโลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะ รู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มี ความเห็นอย่างสัตบุรุษ” ดังนั้น คนดี คือ ผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล มีความเชื่อมั่นในเรื่องของกรรม เชื่อในเรื่องผลของ บุญและบาป ทำให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งการจะบรรลุผลเช่นนี้ได้ พระพุทธศาสนาได้ วางหลักปฏิบัติที่ใช้ได้ผลจริงมาแต่ครั้งโบราณกาล นั่นคือ การทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา เป็นประจำสม่ำเสมอ จนกระทั่งติดเป็นนิสัยประจำตัวในที่สุด และเมื่อปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วย่อมได้รับผล เป็นความสุขในปัจจุบันชาตินี้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการนี้ 3 ประการเป็นไฉน ? คือ ทานมัยบุญกิริยาวัตถุ 1 สีลมัยบุญกิริยาวัตถุ 1 ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการนี้แล กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ จึงศึกษาบุญนั่นแล อันให้ผลเลิศต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน 1 ความประพฤติเสมอ 1 เมตตาจิต 1 บัณฑิต ครั้นเจริญธรรม 3 ประการอันเป็นเหตุให้เกิดความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่มีความเบียดเบียน บุคคลผู้มีใจรักในการเสียสละ ชอบแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็น แบ่งปันทรัพย์สมบัติให้ กับผู้อื่นในยามที่เขาจำเป็นต้องใช้ บุคคลนั้นย่อมเป็นที่รักของผู้อื่น และย่อมจะเป็นที่พึ่งพาอาศัยให้กับ บุคคลรอบข้างได้ สิ่งนี้เป็นข้อที่พึงปฏิบัติในขั้นต้นของการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งเรียกว่า การทำทาน ยิ่งกว่านั้น ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ความคิดความเห็นของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดา จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกันได้ การผิดใจกันถือเป็นเรื่องที่เราจะต้องประสบ บุคคลใด สามารถยับยั้งชั่งใจ ตั้งสติระงับตนเอง ไม่ให้ตัวเองก้าวออกไปสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น จูฬปุณณมสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 150 หน้า 189. * ปุญญกิริยาวัตถุสูตร, ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 ข้อ 238 หน้า 386. 10 DOU บ ท ที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ข อ ง ม นุ ษ ย์ กับ วิถี ชี วิ ต ษ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More