การให้ทานในพระพุทธศาสนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 36
หน้าที่ 36 / 226

สรุปเนื้อหา

การให้ทานหมายถึงการเสียสละและการแบ่งปัน เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น โดยการให้แบบบริสุทธิ์ใจนั้นมีคุณค่ามากกว่าการให้ที่หวังผลตอบแทน การให้ทานตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยพัฒนาจิตใจและสร้างบุญกุศล นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการให้ทานอื่น เช่น อภัยทาน ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาศีล และการมอบความปลอดภัยแก่ผู้อื่น ผ่านการงดเว้นจากการทำร้ายผู้อื่นให้ได้ผลดีกว่าการให้ที่หวังผลตอบแทน เช่น สินบนหรือการให้อาหารด้วยเหตุผลที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ

หัวข้อประเด็น

-การให้ทาน
-คำสอนพระพุทธเจ้า
-คุณค่าของการให้
-การให้ด้วยใจบริสุทธิ์
-ความหมายของทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่รู้จำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายไม่ให้แล้วจึงบริโภค อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น” การให้ เป็นการสร้างความดีที่ง่ายที่สุด แต่ส่งผลดีให้แก่ชีวิตของเราอย่างมากมายสุดจะ พรรณนายิ่งถ้าเป็นผู้ให้อย่างสม่ำเสมอแล้วจะยิ่งเห็นคุณค่า และรักการให้มากขึ้น ดังนั้น จึงควรศึกษา เรื่องการให้ทานให้เข้าใจ โดยอาศัยคำสอนและวิธีการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นต้นแบบให้เราได้ ประพฤติปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง 2.2 คำแปล “ทาน” แปลว่า การให้, การเผื่อแผ่, การแบ่งปัน, การบริจาค, ความเอื้อเฟื้อ, ความสะอาด หรือ ความบริสุทธิ์ ฯ 2.3 ความหมาย โดยทั่วไปนั้น “ทาน” จะหมายถึง การให้ ซึ่งได้แก่ การเสียสละสิ่งของต่างๆ ของตน หรือการให้ ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ซึ่งการให้นั้นจะให้ผลดีเต็มที่ เมื่อผู้ให้สามารถ เอาชนะ ใจตนเอง ด้วยการขจัดความตระหนี่หวงแหนออกไปจากใจได้ คือให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผล ตอบแทนจากผู้รับ ขอเพียงให้ได้บุญกุศล และความสบายใจเท่านั้น ดังนั้น การให้บางอย่างที่หวังผลประโยชน์ตอบแทนแก่ตน เช่น ให้ข้าวแก่สุนัข ด้วยหวังว่า มันจะเฝ้าบ้านให้เราให้อาหารเลี้ยงวัวด้วยหวังจะได้น้ำนมจากมันหรือทำผิดกฎหมาย แล้วให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้ตนพ้นผิด ฯลฯ จึงไม่จัดว่าเป็นการทำทานในทางพระพุทธศาสนา นอกจากความหมายข้างต้นแล้ว ยังมีความหมายของทานในลักษณะอื่นๆ อีก เช่น วิรัติทาน หมายถึงการให้ โดยงดเว้นจากการเบียดเบียน รังแกกัน หรือหมายถึงการให้ความปลอดภัย ให้อภัย (อภัย ทาน) ซึ่งก็คือการให้ที่เป็นผลมาจากการรักษาศีลนั่นเอง เช่น เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 1 งดเว้นจากการฆ่า สัตว์ ย่อมได้ชื่อว่า เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น บทที่ 2 ท า น คื อ อะไร DOU 25
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More