ความสำคัญของการเจริญภาวนา SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 186
หน้าที่ 186 / 226

สรุปเนื้อหา

การเจริญภาวนานั้นถือเป็นวิถีชีวิตที่สำคัญสำหรับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติ เพศ หรือความเชื่อในศาสนา การเจริญภาวนาเป็นการฝึกจิตใจเพื่อกำจัดกิเลสอาสวะและเข้าถึงพระนิพพาน สอนให้เรามีจิตใจที่สงบและเห็นความดีงามได้ชัดเจน โดยการทำใจให้หยุดนิ่งและผ่องใส ถือเป็นภารกิจที่ทุกคนควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชีวิตตนเอง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการเจริญภาวนา
-การเจริญภาวนาเป็นของสากล
-ความหมายของการเจริญภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังนั้น นอกจากการทำทาน และรักษาศีล ซึ่งถือว่าเป็นงานสำคัญแล้ว ยังมีหน้าที่สำคัญที่ต้อง ทำควบคู่กันไปอีกประการหนึ่ง คือ การเจริญภาวนา การทำใจให้หยุดนิ่ง ให้สงบ ผ่องใส ถือเป็น ภารกิจสำคัญของทุกคนที่จะต้องทำให้กลายเป็นวิถีชีวิตให้ได้ 10.2 การเจริญภาวนาเป็นของสากล การเจริญภาวนามีความสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกๆ ชีวิต เมื่อเราได้ทำภาวนา และทำอย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติแล้ว จะเป็นการดึงดูดสิ่งดีๆ ให้บังเกิดขึ้นกับตัวของเราเอง การเจริญภาวนานั้นเป็นของสากล คือ มนุษย์ทุกคนสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติได้ ไม่จำกัดว่า บุคคลนั้นจะมีเชื้อชาติใด จะเป็นชายหรือหญิง จะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยชรา จะมีผิวพรรณวรรณะแตกต่าง กันอย่างไรและไม่ว่าจะมีความเห็นหรือความเชื่อในลัทธิหรือศาสนาใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถทำภาวนา ได้ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น การเจริญภาวนาจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หรือต้องเป็นพุทธ ศาสนิกชนเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะนับถือศาสนาหรือความเชื่อใด ก็สามารถศึกษาและประพฤติปฏิบัติภาวนา ได้อย่างเท่าเทียมกันทุกคน 10.3 ความหมายของการเจริญภาวนา พระพุทธศาสนามีเป้าหมายสูงสุด คือ การทำกิเลสอาสวะให้สิ้น เข้าถึงพระนิพพาน และวิธีการ กำจัดกิเลสอาสวะให้สิ้น ทำพระนิพพานให้แจ้ง คือ การฝึกจิต ที่ท่านเรียกว่า ภาวนา หรือกัมมัฏฐาน ภาวนา แปลว่า การเจริญ, การทำให้เพิ่ม, การทำให้เกิดมี ภาวนา แปลว่า การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ, สำรวมใจตั้งความปรารถนา มีอรรถาธิบายแสดงไว้ว่า ธรรมที่บัณฑิตชนทั้งหลาย ควรทำให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและครั้งหลังๆ ให้ติดต่อกันไปเป็นนิตย์ จนถึงเจริญขึ้นๆ เรื่อยไป ธรรมนั้นชื่อว่า ภาวนา การเจริญภาวนา หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี โดยการทำใจให้สงบจาก นิวรณ์ และการฝึกฝนจิตให้เกิดการเห็นอันวิเศษ 1 สุชีพ ปุญญานุภาพ, พจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนา ไทย-อังกฤษ, อังกฤษ-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 8, (กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541), หน้า 181. หน้า 821. หน้า 18. 3 * พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546), พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ. 9), ภาวนาทีปนี, พิมพ์ครั้งแรก, (กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า, 2538), บทที่ 10 ส า ร ะ สำ คั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ ญ ภาวนา DOU 175
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More