อานิสงส์ของการรักษาศีล SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 159
หน้าที่ 159 / 226

สรุปเนื้อหา

การรักษาศีลในระดับของมวลชนมีผลกระทบต่อบรรยากาศโลก ทำให้ฝนตกตามฤดูกาลและพืชผลอุดมสมบูรณ์ หากไม่รักษาศีลอาจเกิดผลลบไม่เพียงแต่ต่อตนเอง แต่ยังมีผลต่อสังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติด้วย โดยพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในธัมมิกสูตรว่าถ้าผู้มีอำนาจประพฤติไม่เป็นธรรม จะส่งผลทำให้ทั้งสังคมเกิดความวุ่นวาย อานิสงส์ของศีลสามารถสรุปได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่ ทำให้ได้สุข ทำให้มีทรัพย์สมบัติ และนำไปสู่การนิพพาน

หัวข้อประเด็น

-อานิสงส์ของศีล
-ผลต่อสังคม
-การรักษาศีลและเศรษฐกิจ
-ธรรมและสิ่งแวดล้อม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตลอดจนประชาชนทั่วแคว้นต่างชักชวนกันรักษาศีล ต่อมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร บริบูรณ์ ฤดูกาล ไปด้วย จะเห็นว่าการรักษาศีลในระดับของมวลชนนั้น มีผลทำให้บรรยากาศของโลกดีขึ้น ฝนก็ตกต้อง ตาม ซึ่งจะมีผลต่อการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลดี เศรษฐกิจของประเทศนั้น เมืองนั้นย่อมเกิดผลดี ตาม แต่หากคนในบ้านเมืองใดไม่ประพฤติธรรม บ้านเมืองนั้นย่อมได้รับผลตรงกันข้าม ดังที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ธัมมิกสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระราชาทั้งหลายประพฤติไม่เป็นธรรม ในสมัยนั้น แม้ข้าราชการทั้งหลายก็พลอยประพฤติไม่เป็นธรรม เมื่อข้าราชการ ประพฤติไม่เป็นธรรม พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติไม่เป็นธรรม บ้าง....ชาวบ้านชาวเมืองก็ประพฤติไม่เป็นธรรมไปตามกัน.... ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ก็โคจรไม่สม่ำเสมอ.... ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินไม่เที่ยงตรง... คืนและวันก็เคลื่อนไป ครั้นคืนและวันเคลื่อนไป เดือนและปักษ์ก็คลาดไป ครั้นเดือนและปักษ์คลาดไป ฤดูและปีก็เคลื่อนไป ครั้นฤดูและปีเคลื่อนไป ลมก็พัดผันแปรไป ครั้นลมพัด ผันแปรไป ลมนอกทางก็พัดผิดทาง ครั้นลมนอกทางพัดผิดทาง เทวดาทั้งหลาย ก็ปั่นป่วน ครั้นเทวดาทั้งหลายปั่นป่วน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ครั้นฝนไม่ตกตาม ฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายบริโภค ข้าวที่สุกไม่ดี ย่อมอายุสั้น ผิวพรรณก็ไม่งาม กำลังก็ลดถอย และมีอาพาธมาก” จากตัวอย่างที่กล่าวมา ย่อมแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่ส่งผลให้เห็นในชาติปัจจุบัน ทั้งต่อตนเอง คือ เป็นหลักประกันของชีวิต และต่อสังคมส่วนรวม ทำให้สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจก็ดีตามไปด้วย 8.1.4 บทสรุปอานิสงส์ของศีล อานิสงส์ของศีล สามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อใหญ่ ได้ดังนี้ “สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย 1 ธัมมิกสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 70 หน้า 221-222. 148 DOU บ ท ที 8 อ า นิ ส ง ส ข อ ง ก า ร รั ก ษ า ศีล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More