ข้อความต้นฉบับในหน้า
10.5.3 ประเภทของสัมมาสมาธิ
สมาธิที่ถูกต้อง หรือสัมมาสมาธินั้นมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เมื่อฝึกฝนได้ดีแล้ว
จะมีแต่ความเย็นกายเย็นใจ มี 2 ประเภท คือ
1. สมาธินอกพระพุทธศาสนา สมาธิประเภทนี้มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว พวกฤาษีชีไพร
ต่างๆ มักจะใช้ฝึกกัน ส่วนมากนิยมฝึกด้วยการเอาวัตถุเป็นที่ตั้งจิต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฝึกกสิณภายนอก
โดยสร้างวัตถุขึ้นมาชิ้นหนึ่งเป็นแผ่นกลมๆ ที่เรียกว่า กสิณ เช่น ปั้นดินเป็นแผ่นกลมๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
1 คืบ หนา 1 นิ้ว วางไว้เบื้องหน้าของผู้ฝึก เมื่อจำลักษณะได้แม่นยำแล้วก็หลับตานึกถึงกสิณด้วยการเอา
จิตไปตั้งที่กสิณนั้น พร้อมกับบริกรรมภาวนา คือ ท่องในใจ เป็นการประคับประคองใจไม่ให้คิดเรื่องอื่นด้วย
คำว่า ปฐวีๆๆๆ (หรือ ดินๆๆๆ) เป็นต้น เมื่อปฏิบัติมากเข้าจนเกิดความชำนาญแล้ว มโนภาพที่เกิดขึ้นในใจ
จะค่อยๆ ทวีความสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นภาพกสิณนั้นอยู่เบื้องหน้าตนเอง ระยะใกล้บ้าง ไกลบ้าง ถ้า
ปฏิบัติได้ดีก็จะเห็นได้ชัดเจนเหมือนลืมตาเห็น ยิ่งชำนาญมากเท่าไร ก็สามารถพลิกแพลงใช้ประโยชน์จาก
กสิณที่ได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
2. สมาธิในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิประเภทนี้เอง โดยพระองค์ทรง
นำวิธีการฝึกสมาธิของพวกฤาษีชีไพรในสมัยนั้น มาดัดแปลงแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องรัดกุมยิ่งขึ้น ดังนั้นทั้งวิธี
ทำกสิณ ขนาดของกสิณ และคำภาวนาจึงเหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนตำแหน่งฐานที่ตั้งจิตหรือการวางใจ
เสียใหม่ แทนที่จะเอาใจไปวางไว้ที่กสิณนั้น ก็เอามาวางไว้ที่ตรง ศูนย์กลางกาย ของตนเอง แล้วนึกถึง
กสิณนั้นๆ
10.5.4 ความแตกต่างของสมาธิ 2 ประเภท
ความแตกต่างของสมาธิทั้ง 2 ประเภทนี้ เมื่อปฏิบัติในระยะเบื้องต้นจะยังไม่มีความแตกต่างกันมาก
นัก ผู้ที่วางใจไว้นอกตัวจะเห็นภาพอยู่เบื้องหน้าตนเอง ส่วนผู้ที่วางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายจะเห็นภาพปรากฏขึ้น
ณ ศูนย์กลางกายของตนเอง
เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องมากขึ้นจะเห็นถึงความแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน คือ ความสงบ ความชัด
ของกสิณ ความสุขกายสุขใจที่ได้รับ และความเห็นหรือทิฏฐิจะแตกต่างกัน ผู้ที่วางใจไว้นอกตัวนั้น นิมิตจะ
ไม่อยู่นิ่ง อยู่ใกล้บ้าง ไกลบ้าง ชัดบ้างไม่ชัดบ้างใหญ่บ้างเล็กบ้าง ปรับภาพได้ยาก และมักจะเกิดนิมิตลวงเสมอ
เช่น เห็นภาพเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านไปนานแล้ว และภาพอื่นๆ อีก ปะปนสับสนกับนิมิตจริงจนแยกกัน
ไม่ค่อยออก
หน้า 34.
หน้า 36.
2
- พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), คนไทยต้องรู้, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2537),
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), คนไทยต้องรู้, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2537),
180 DOU
บ
ท ที่ 10
10 ส า ร ะ ส าคั ญ ข อ ง ก า ร เ จ ริ
ญ ภ า ว น า