ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. พิจารณาถึงอายุของตนเองว่า คนมีอายุเช่นเรา ได้รับการสั่งสอนอบรมมาแล้ว ทั้งยังได้เรียน
รู้จากประสบการณ์ชีวิตว่า อะไรดี อะไรชั่ว ถ้าเรายังผิดศีล ก็เสียทีที่มีอายุมากเสียเปล่า แต่ไม่มีสติปัญญา
ตักเตือนตนเองเสียเลย
3. พิจารณาถึงความกล้าหาญของตนเองว่า ตัวเราต้องมีความกล้าหาญ ตั้งใจมั่นอยู่ในคุณความ
ดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนเอง และผู้อื่น ต่างจากผู้ที่ทำผิดศีล เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน
เพราะมีจิตใจอ่อนแอ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
4. พิจารณาถึงความเป็นพหูสูตของตนเองว่า ตัวเรานั้นเป็นผู้ศึกษาธรรมะมามาก มีหลัก ธรรม
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เราจึงควรเป็นผู้มีศีล มีการกระทำอันงาม ต่างจากคนพาลซึ่งทำบาปอกุศล
เพราะไม่มีหลักธรรมใดๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
การเกิดโอตตัปปะ
โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นได้เพราะกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง จากภัย
4 ประการ คือ
1. ภัยเพราะติเตียนตนเอง เมื่อทำผิดศีล เราย่อมรู้สึกเดือดร้อน กระวนกระวายใจในภายหลัง
เพราะนึกติเตียนตนเองที่ทำในสิ่งไม่สมควร
2. ภัยจากการที่ผู้อื่นติเตียน เมื่อบัณฑิต ได้รู้ถึงการกระทำที่ผิดศีลของเรา เขาย่อมติเตียนว่า
เราเป็นคนพาล เป็นผู้กระทำบาปกรรม เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน
3. ภัยจากอาชญา เมื่อเราผิดศีลจนเป็นผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมต้องถูกลงโทษจากกฎหมาย
บ้านเมือง ได้รับความเดือดร้อนตอบแทนกลับมา
4. ภัยในทุคติ การผิดศีล ย่อมจะนำเราไปสู่อบายภูมิ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย
ทำให้ต้องประสบทุกข์ภัยเป็นอันมากในภพชาติเบื้องหน้า เมื่อละจากโลกไปแล้ว
ด้วยวิธีการหมั่นฝึกคิดพิจารณาเช่นนี้ ในที่สุด หิริ โอตตัปปะ จะเกิดขึ้นในใจของเราอย่างแน่นอน
และเมื่อนั้นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อรรถกถาขุททกนิกาย ชาดก, เทวธรรมชาดก, มก. เล่ม 55 หน้า 209.
บท
ทที่ 7 วิ ธี ก า ร รั ก ษ า ศีล DOU 131