ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ถ้าพระศาสดา หรือเพื่อน
พรหมจรรย์ของภิกษุนั้นไม่ได้แสดงธรรมให้ฟัง แต่ภิกษุนั้นแสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับเล่าเรียนมาให้ผู้อื่นฟังโดยพิสดารด้วยประการใดๆ เธอย่อมเป็นผู้รู้แจ้งอรรถ
และรู้แจ้งธรรมด้วยประการนั้นๆ ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ปีติย่อมเกิดแก่เธอผู้มีความปราโมทย์ กายของผู้มีความปีติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
(ปัสสัทธิ) ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมตั้งมั่น
ภิกษุทั้งหลาย วิมุตตายตนะ (เหตุแห่งความหลุดพ้น) อันเป็นเหตุให้จิต
ของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ (มีใจส่งไปในธรรมนั้น) ซึ่งยัง
ไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น หรืออาสวะทั้งหลายยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอันเยี่ยมยอดที่ยังไม่บรรลุ
จากพุทธดำรัสนี้ ทำให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลานิสงส์ของการแสดงธรรมว่า
ผู้ที่แสดงธรรมย่อมได้รับคุณความดีหลายอย่างจนกระทั่งทำให้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอันเยี่ยมยอดได้
ความข้อนี้ผู้แสดงธรรมย่อมประจักษ์ชัดด้วยใจตนเอง เพราะทุกครั้งที่จะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น จิตของ
ผู้แสดงธรรมย่อมน้อมไปในธรรมนั้นด้วย จะโดยการที่ต้องทบทวน ท่องจำ ตรึก ตรอง ทำความเข้าใจ
เหล่านี้ล้วนเป็นการชำระใจให้สะอาด บริสุทธิ์ อันเป็นทางมาแห่งปัญญา แตกฉานในอรรถและธรรม
เมื่อพิจารณาเห็นจริงตามธรรมนั้น จะรู้สึกปลาบปลื้มปีติใจ เป็นผลทำให้สามารถข่มกิเลส
คือความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ในขณะนั้น จึงเกิดความสงบกาย เป็นสุข สบายใจ ใจจึงตั้งมั่นเป็นสมาธิ
และผลที่ยิ่งกว่านั้น คือทำให้ผู้ที่สั่งสมบุญมามาก อาจจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย สามารถบรรลุธรรม
อันประเสริฐได้ในที่สุด ดังเรื่องของ พระเขมกะ” ดังนี้
สมัยหนึ่ง มีพระเถระประมาณ 60 รูป อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี พระเถระเหล่านั้นปรารถนา
ที่จะฟังธรรมจากพระเขมกะ ผู้พักอยู่ ณ พทริการามในที่ห่างออกไปประมาณ 12 กิโลเมตร แต่เนื่องจาก
บริเวณที่พักของพระเขมกะคับแคบเกินไปไม่มีที่พอให้พระเถระทั้งหลายนั่งฟังธรรม พวกท่านจึงส่งพระทาสกะ
ไปเป็นตัวแทนถามปัญหาธรรมะกับพระเขมกะถึงที่พัก ด้วยหวังว่าพระเขมกะคงจะเดินทางมาแสดงธรรม
ณ ที่พักของพวกท่านด้วยตัวเอง
แต่ขณะนั้น ท่านพระเขมกะอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา เมื่อพระทาสกะมาถึง ทราบว่า
ท่านไม่สบาย จึงเดินทางกลับไปบอกพระเถระ แต่พระเถระบอกให้พระทาสกะกลับไปถามหัวข้อธรรมที่
สงสัยกับพระเขมกะอีกครั้งหนึ่ง
วิมุตติสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 26 หน้า 40.
เขมกสูตร, สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค, มก. เล่ม 27 ข้อ 225 หน้า 290.
บ ท ท 4
ท ที่ 4
ธรรมทาน
DOU 79